ประเทศไทยพร้อมแล้ว..หรือยัง? สำหรับรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ

นี่คือปี 2020 นอกเหนือจากการระบาดครั้งใหญ่แล้ว อนาคตก็คือตอนนี้นั่นเอง ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและการเปิดตัวปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI (Artificial Intelligence) คุณอาจเคยคิดว่าถนนของเรานั้นจะเต็มไปด้วย รถยนต์ที่ขับเคลื่อนอัตโนมัติ หรือ รถยนต์ไร้คนขับ (Self-driving Cars) แต่ทำไมกลับไม่มีเลยล่ะ? ทุกคนต่างก็สงสัยกันเป็นอย่างมากว่าการอยู่ในรถที่บังคับและเร่งความเร็วโดยอัตโนมัตินั้นจะเป็นอย่างไร แต่ถึงแม้จะมีความพยายามอย่างมากจากผู้ผลิตรถยนต์ชั้นนำเช่น เทสลา (Tesla), ฟอร์ด (Ford), อาวดี้ (Audi) และ วอลโว่ (Volvo) ที่พยายามปูทางด้วยเทคโนโลยีของพวกเขา แต่รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติก็ยังคงดูไกลเกินเอื้อม

คุณสามารถซื้อรถที่ตรวจจับการชนได้โดยการเบรกอัตโนมัติหรือรถที่ช่วยให้คุณอยู่ในเลนขับรถได้ แต่คุณสมบัติเหล่านี้ก็ยังคงห่างไกลจากการทำให้เป็นรถที่ขับเคลื่อนแบบอัตโนมัติ แล้วในอนาคตอันใกล้นี้ สำหรับประเทศไทยรถยนต์ที่ไร้คนขับเป็นสิ่งที่เราคาดหวังได้หรือเป็นเพียงแค่ความฝันกันนะ?

 

รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ หรือรถยนต์ไร้คนขับทำงานอย่างไร?

แนวคิดเบื้องหลังรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัตินั้นค่อนข้างง่าย เพียงใช้รถที่ติดตั้งกล้องไว้ทั่วทุกมุมเพื่อติดตามวัตถุทั้งหมดรอบ ๆ ตัวรถ และ ให้รถตอบสนองหากกำลังจะชนกัน การฝึกระบบคอมพิวเตอร์ในรถยนต์เกี่ยวกับกฎของถนน และกำหนดให้พวกเขานำทางไปยังจุดหมายปลายทางของตนเอง แม้ว่าการปฏิบัติตามกฎจะเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องทั้งหมดกับการขับขี่ แต่ก็ไม่เพียงพอที่จะทำให้ขับรถได้เช่นเดียวกับที่มนุษย์ทำ ในขณะที่เราทำสิ่งต่าง ๆ เช่น สบตากับผู้ขับขี่คนอื่นเมื่ออยู่ในทางแยกเพื่อพิจารณาว่าใครจะไปก่อน หรือแม้กระทั่งตอบสนองต่อสภาพอากาศที่แตกต่างกัน และการมีวิจารณญาณนั้นเรื่องยากสำหรับ AI ในการตัดสินใจแบบอิสระ ถึงสิ่งอื่น ๆ ได้แก่ การฝึกคอมพิวเตอร์ของรถเพื่อสร้างมโนภาพว่ารถคันอื่น, คนขี่จักรยาน,คนเดินเท้า และ สิ่งกีดขวางนั้นอยู่ที่ใดและกำลังเคลื่อนที่ไปที่ไหน ทำให้แม้ว่าบางสิ่งเหล่านี้อาจดูเหมือนง่าย แต่ก็มีความซับซ้อนอย่างน่าประหลาดใจ

 

รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ-รถยนต์ไร้คนขับ: ปลอดภัยหรือไม่?

หลายคนอาจยังคงสงสัยว่าเทคโนโลยีของรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติหรือรถยนต์ไร้คนขับ มีประสิทธิภาพเพียงใด รถประเภทนี้ปลอดภัยไหมที่จะขับบนท้องถนน นี่คือเหตุผล 5 ประการที่ทำให้รถยนต์คันดังกล่าวไม่สามารถขับขี่ได้ในประเทศไทยในขณะนี้

 

1.   ระบบเซ็นเซอร์ (Sensor System)

รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ-รถยนต์ไร้คนขับ

รถยนต์ที่ขับเคลื่อนอัตโนมัติมีเซ็นเซอร์, กล้อง และ เรดาร์ที่แตกต่างกันซึ่งจะช่วยให้รถสามารถมองเห็นและติดตามวัตถุต่าง ๆ บนท้องถนน รวมถึงติดตามทิศทางและความเร็วของรถคันอื่นได้ นอกจากนี้ยังสามารถติดตั้ง 

ไลดาร์ หรือ Lidar (Light Detection and Ranging) ที่ใช้แสงเลเซอร์เพื่อวัดระยะห่างระหว่างรถและวัตถุรอบตัวรถ จากนั้นจะส่งข้อมูลไปยังระบบควบคุมของรถเพื่อตัดสินใจว่าจะต้องเร่งความเร็วหรือเบรก

 แต่ในประเทศไทยด้วยสภาพการจราจรและสภาพอากาศที่ไม่แน่นอนรวมทั้งวัฒนธรรมการขับรถที่น่าหวาดเสียวที่ขึ้นชื่อเรื่องการทำลายป้ายถนน ทำให้ปัจจัยเหล่านี้อาจส่งผลต่อความแม่นยำในการอ่านของเซ็นเซอร์ซึ่งจะถือว่าไม่ปลอดภัยสำหรับรถประเภทนี้ในที่นี่

 

2.   ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence)

รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ-รถยนต์ไร้คนขับ

รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการประมวลผลข้อมูลที่ส่งมาจากเซ็นเซอร์ และจะกำหนดการกระทำขั้นต่อไป อัลกอริทึมนี้จะระบุและจัดประเภทวัตถุตามประเภทต่าง ๆ เช่น คนเดินถนน,ป้ายบอกทาง และ อื่น ๆ ซึ่งจะพิจารณาว่าควรดำเนินการใดต่อไปไม่ว่าจะเบรกหรือเร่งความเร็ว

แต่ในปัจจุบันนี้ อัลกอริทึมที่ใช้ไม่สามารถรับประกันประสิทธิภาพและความปลอดภัยได้ โดยในความเป็นจริงแล้ว ไม่มีมาตรฐานที่เฉพาะเจาะจงว่าปัญญาประดิษฐ์นี้จะได้รับการฝึกฝน,ทดสอบ หรือ ตรวจสอบความถูกต้องอย่างไร

 

3.   ถนนสายยาวสุดลูกหูลูกตา (Open Road System)

รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ-รถยนต์ไร้คนขับ

ในประเทศไทยโดยเฉพาะถนนสุขุมวิท, ถนนรามคำแหง  และ ถนนวิภาวดีรังสิต ที่มักมีการก่อสร้าง,ทำถนน และ การเบี่ยงเบนของถนนเนื่องจากจำนวนรถบนท้องถนนที่เพิ่มขึ้นทุกปี รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติอาจขับไปบนถนนเหล่านี้และพบกับวัตถุที่อาจไม่เคยเห็นในการฝึกครั้งก่อน ๆ ซึ่งจะทำให้ขั้นตอนการระบุวัตถุมีความยุ่งยากซับซ้อนซึ่งอาจส่งผลต่อประสิทธิภาพของระบบได้ ดังนั้นรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยตนเองจึงต้องมีการอัปเดต และ อัปเกรดตลอดเวลา หากไม่มีการอัปเดตอย่างต่อเนื่อง ซอฟต์แวร์ที่มีอยู่จะไม่สามารถรองรับรูปแบบล่าสุดของเส้นถนนได้

 

4.   กฎระเบียบทางถนน (Road Regulations)

รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ-รถยนต์ไร้คนขับ

กฎระเบียบข้อบังคับบนท้องถนนและมาตรฐานการขับขี่สำหรับรถยนต์ที่ขับเคลื่อนอัตโนมัติยังไม่มีอยู่ในอุตสาหกรรมยานยนต์ในขณะนี้ แม้ว่าจะมีข้อบังคับสากลที่กำหนดไว้สำหรับระบบรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติซึ่งมีข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง แต่ยังไม่สามารถแก้ปัญหาที่เกี่ยวกับเซ็นเซอร์,ปัญญาประดิษฐ์และการดำเนินการอื่น ๆ ที่กล่าวมา และด้วยกฎหมายที่มีอยู่ คำถามบางประการที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ :

ก.  ใครเป็นผู้รับผิดชอบในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุทางถนนที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ที่ขับเคลื่อนอัตโนมัติ
ข.  กระทรวงคมนาคม (MOT) จะออกใบอนุญาตขับรถทดลองสำหรับผู้ที่มีรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติหรือไม่?
ค.  มีขั้นตอนการปฏิบัติงานมาตรฐานใดบ้างที่ต้องปฏิบัติตามก่อนที่รัฐบาลจะอนุญาตให้รถเหล่านี้อยู่บนท้องถนน?

5.   การยอมรับทางสังคม (Social Acceptability)

รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ-รถยนต์ไร้คนขับ

การยอมรับของสังคมไม่เพียงแต่เกี่ยวข้องกับปัญหาของเจ้าของรถที่ขับเองเพียงอย่างเดียว แต่ยังเกี่ยวข้องกับบุคคลอื่นที่ใช้ถนนสายเดียวกัน ประชาชนควรมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการพิจารณาและการยอมรับรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ หากไม่มีสิ่งนี้ ความเสี่ยงที่สังคมจะปฏิเสธเทคโนโลยีนี้ก็สูงมาก ในความเป็นจริงหากปราศจากความร่วมมือที่ครอบคลุมที่ทำให้รถคันนี้ปลอดภัย หลายคนก็อาจตั้งคำถามถึงความปลอดภัยได้ แม้ว่าจะมีการกล่าวอ้างว่าสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุเนื่องจากความประมาทได้ก็ตาม

 

ด้วยปัจจัยเหล่านี้คุณคิดว่าประเทศไทยพร้อมสำหรับรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ หรือรถยนต์ไร้คนขับแล้วหรือยัง? แล้วคุณกำลังตั้งตารอรถแบรนด์ไหนหรือรถรุ่นอะไรอยู่? หากคุณกำลังมองหารถคันในฝัน (ซึ่งคงยังไม่ใช่รถขับเคลื่อนอัตโนมัติในตอนนี้) และต้องการขายรถคันปัจจุบันของคุณ ติดต่อหาเราที่ Carsome สิ คุณสามารถขายรถของคุณได้ภายใน 1 ชั่วโมง โดยไม่มีขั้นตอนที่ยุ่งยาก