ไฟตัดหมอกคืออะไร? ใช้ตอนไหนถึงจะปลอดภัย

ไฟตัดหมอกคืออะไร? ใช้ตอนไหนถึงจะปลอดภัย

สำหรับไฟตัดหมอกในปัจจุบันนั้นถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์มาตรฐานใหม่ของรถยนต์ ซึ่งมีความจำเป็นมาก โดยไฟตัดหมอกถือว่าเป็นอุปกรณ์มาตรฐานใหม่ของรถยนต์ที่ถูกเพิ่มเข้ามา มีส่วนช่วยในการเพิ่มทัศนวิสัยที่ดีขึ้นให้แก่ผู้ขับขี่ได้ดีขึ้นนั่นเอง สำหรับในวันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจเกี่ยวกับเรื่องไฟตัดหมอกกันว่า จะต้องใช้ตอนไหนถึงจะปลอดภัย และควรใช้ตอนไหนถึงจะไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ถนน ไปดูกันดีกว่าค่ะว่ามีอะไรบ้าง

ไฟตัดหมอกคืออะไร?

ไฟตัดหมอกคืออะไร?

ไฟตัดหมอก คือ ไฟดวงเล็กที่อยู่ด้านล่างรองลงมาจากไฟหน้ารถ และส่วนใหญ่แล้วเป็นออปชั่นเสริมที่มักจะถูกติดตั้งมากับรถยนต์ ซึ่งสามารถมาติดตั้งเพิ่มเติมทีหลังได้ ไฟตัดหมอกเป็นชุดดวงไฟขนาดเล็กที่สามารถให้กำลังไฟที่สว่าง เพราะหลอดไฟที่ใช้เป็นหลอดขนาด H3 ซึ่งเป็นชนิดเดียวกันที่อยู่ในสปอตไลท์นั่นเอง

ไฟตัดหมอกสำคัญมั้ย?

ไฟตัดหมอกนั้นถือว่าเป็นอุปกรณ์ความปลอดภัยที่มีประโยชน์อย่างมาก ในขณะขับขี่ท่ามกลางฝนตกหนักหรือขณะที่มีทัศนวิสัยแย่ เช่น หมอกลงจัด โดยไฟตัดหมอกจะะส่องสว่างจ้าและจะกระจายแสงในระนาบแนวกว้างนี้ ซึ่งสามารถช่วยเพิ่มทัศนวิสัยในการขับขี่ได้

สำหรับไฟตัดหมอกนั้นจำเป็นที่จะต้องเปิดใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหมอกหนาจัด เช่น ฤดูหนาวทางภาคเหนือที่มักจะมีหมอกลงจัด หรือในสถานการณ์ที่ต้องขับผ่านควันหนา ๆ เช่น ควันไฟป่า ไฟไหม้หญ้าข้างทาง ซึ่งในโอกาสที่จะใช้นั้นอาจจะใช้ได้น้อย แต่ก็สำคัญในสถานการณ์ฉุกเฉินและจำเป็นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ความสำคัญของไฟตัดหมอกหลัง

ความสำคัญของไฟตัดหมอกหลัง

ไฟตัดหมอกหลังนั้นมีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับการเดินทางเมื่อมีหมอกลงหนาจัด การเปิดไฟจะช่วยทำให้มองเห็นว่าหนทางได้สะดวกชัดเจนยิ่งขึ้น หรือเพื่อเช็กว่ามีรถสวนทางมาหรือไม่ โดยส่วนใหญ่แล้วไฟตัดหมอกจะถูกติดตั้งไว้ที่ฝั่งใดฝั่งหนึ่งของตัวรถเท่านั้น และไม่นิยมติดตั้งไว้ทั้งสองฝั่ง เพราะสามารถทำให้ผู้ใช้รถด้านหลังเกิดความสับสนระหว่างไฟตัดหมอกและไฟเบรกได้ โดยตามกฎหมายของหลายประเทศทั้งยุโรปและสหรัฐอเมริกาได้กำหนดให้ผู้ผลิตรถยนต์ออกแบบไฟตัดหมอกหลังให้อยู่ห่างจากตำแหน่งของไฟเบรกเพื่อความสะดวกในการแยกแยะด้วยสายตา นั่นจึงเป็นสาเหตุให้รถยนต์ส่วนใหญ่มีไฟตัดหมอกหลังเพียงข้างเดียว 

การทำงานของไฟตัดหมอก

ในส่วนของระบบไฟตัดหมอกจะมีความสว่างสูง และเป็นสปอตไลท์ที่ให้แสงสว่างชัดเจน โดยส่องระนาบกับพื้น หรือ ส่องตกพื้นในระยะไกล สามารถส่องได้ไกล มีความสว่างมากในพื้นที่ที่มีฝนตกหนัก หรือ หมอกลงจัด โดยหลอดไฟด้านหน้าถ้าเปิดใช้ในขณะที่หมอกจัด จะทำให้เกิดมุมเอียงลงต่ำและเกิดการสะท้อนกลับสู่สายตาของผู้ขับขี่ ส่งผลให้แสงที่ส่องไปน้อย สามารถมองเห็นแค่ในระยะไม่เกิน 10-15 เมตร  

สำหรับไฟตัดหมอกที่ส่องแบบขนานพื้น จะไม่สะท้อนกลับมาในมุมผู้ขับขี่ และสามารถมองเห็นได้ในระยะมากกว่า 30-80 เมตร อีกทั้งยังส่องทะลุทะลวงได้ดี ดังนั้นช่วงเวลาที่เหมาะแก่การใช้ระบบไฟตัดหมอกจะได้แก่ช่วงเวลาเช่น ฝนตกหนัก หมอกลง ขึ้นภูเขาสูง เป็นต้น โดยหากเมื่อมีรถยนต์สวนทางมา ควรปิดไฟตัดหมอกทันที เพื่อความปลอดภัยของผู้ขับขี่บนท้องถนนและลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุนั่นเอง

ควรใช้ไฟตัดหมอกเมื่อไหร่

ควรใช้ไฟตัดหมอกเมื่อไหร่

ไฟตัดหมอกนั้นถูกออกแบบมาให้ใช้เมื่อมีหมอกลงเท่านั้น ตำแหน่งของไฟนี้จึงต้องอยู่ต่ำจากระดับตาของเราให้มากที่สุด เพื่อช่วยป้องกันแสงสะท้อนจากหมอกมาเข้าสู่ตาเรา ซึ่งการใช้ไฟตัดหมอกพร่ำเพรื่อนั้นจะสร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่นอย่างมาก เพราะความสว่างนั้นอาจรบกวนสายตาต่อผู้ขับขี่อื่น ๆ บนท้องถนน ซึ่งการใช้ไฟตัดหมอกที่ถูกต้องตามกฎหมายนั้น ได้มีการระบุเรื่องการใช้ไฟตัดหมอกไว้ว่า สามารถใช้ได้ต่อเมื่อรถวิ่งอยู่ในสภาวะที่มีหมอก ควัน หรือฝุ่นละอองจนเป็นอุปสรรค โดยสามารถใช้ในกรณีที่จำเป็นดังต่อไปนี้ 

  1. เมื่อขึ้นภูเขาสูงหรือยอดเขา โดยเฉพาะช่วงหน้าหนาวทั้งตอนเช้าและตอนกลางคืน เพราะที่สูงๆ นั้น หมอกจะมีมากกว่าปกติ
  2. ในช่วงกลางคืนหลังฝนหยุดตกหรือถนนยังเปียกอยู่ ซึ่งไฟตัดหมอกจะช่วยเพิ่มทัศนวิสัยในการขับขี่และการมองเห็นที่ดีขึ้น เพราะไฟหน้าปกติถูกน้ำสะท้อนไปเกือบหมดแล้ว
  3. ในทุกกรณีที่มีหมอกหรือควันเกิดขึ้นบนท้องถนนที่บดบังทัศนวิสัยให้มองเห็นได้น้อยกว่า 50 เมตร ควรปิดไฟตัดหมอกทันทีที่มีรถสวนมา โดยเฉพาะในระยะที่มองเห็นไฟหน้าของรถที่สวนมาได้อย่างชัดเจน แม้แต่รถที่มีระบบเปิด-ปิดไฟหน้าอัตโนมัติก็จะสั่งปิดไฟตัดหมอก คงไว้เฉพาะไฟปกติเมื่อสัญญาณจับได้ว่ามีไฟสะท้อนมาในมุมตรงข้าม

นอกจากการใช้ไฟตัดหมอกจะเป็นการช่วยเพิ่มทัศนวิสัยการขับขี่ที่ดีและความปลอดภัยในสถานการณ์ฉุกเฉินได้ การใช้ไฟตัดหมอกนั้นควรคำนึงถึงโอกาสที่เหมาะสมในการใช้งานและควรระมัดระวังในการเปิดไฟด้วย ไม่อย่างนั้นอาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ขับขี่คนอื่น ๆ บนท้องถนนได้ และเพื่อความปลอดภัยของตัวคุณเองด้วยเช่นกันค่ะ