รถยนต์พลังงานไฟฟ้า (Electric Vehicles : EV) ในประเทศไทย

รถยนต์พลังงานไฟฟ้า หรือ Electric Vehicles (EV) กำลังได้รับความนิยมที่มากขึ้นทั่วโลกเนื่องจากผู้คนเริ่มกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยรถคันนี้เป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แต่คุณรู้หรือไม่ว่ารถยนต์ไฟฟ้ายังมีราคาถูกกว่าในระยะยาวอีกด้วย คุณไม่จำเป็นต้องนำรถคันนี้ไปเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง และ จูนอัพ (Tune-up) อีกทั้งมีชิ้นส่วนรถยนต์ที่อาจจะเสีย และ จำเป็นต้องเปลี่ยนน้อยกว่า ไม่เพียงเท่านั้น มูลค่าการขายต่อของรถยนต์ไฟฟ้ายังสูงกว่าเมื่อเทียบกับรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิง

นอร์เวย์เป็นที่รู้จักกันทั่วโลกว่ามีจำนวนการเป็นเจ้าของรถยนต์ไฟฟ้าแบบใช้แหล่งพลังงานไฟฟ้าอย่างเดียวในการขับเคลื่อน หรือ Plug-In Electric Car ต่อหัวสูงสุดตามด้วย แคลิฟอร์เนีย, เนเธอร์แลนด์, สวีเดน และ จีน ในประเทศไทยรถยนต์ไฟฟ้ามีแนวโน้มที่ดี เนื่องจากรัฐบาลตั้งเป้าที่จะผลิตรถยนต์ไฟฟ้าให้ได้ 750,000 คันต่อปีภายในปีพ.ศ. 2573 และ ตั้งเป้าที่จะเป็นผู้นำในโลกการผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

โครงการริเริ่มของรัฐบาลสำหรับรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย

เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ในการลดมลพิษทางอากาศ PM 2.5 ที่กำลังแย่ลง ซึ่งส่งผลกระทบต่อประเทศ รัฐบาลไทยจึงได้ตัดสินใจที่จะเพิ่มการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าให้ได้ 30% ของปริมาณทั้งหมดภายในปีพ.ศ. 2573 สำหรับแผนตามที่ระบุไว้โดยนาย สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ประกอบไปด้วย

● แผนระยะสั้น – ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (EV) มากกว่า 60,000 ถึง 110,000 คัน ซึ่งรวมถึง รถยนต์ไฟฟ้า, รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า และ รถบัสสาธารณะ
● แผนระยะกลาง – ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ประมาณ 300,000 คัน และ รถบัสโดยสารอัจฉริยะ (Smart City Bus)
● แผนระยะยาว – ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (EV) 750,000 คันจากรถยนต์ทั้งหมด 2.5 ล้านคันต่อปีในประเทศไทย ภายในปีพ.ศ. 2573
โดยบางมาตรการที่รัฐบาลใช้เพื่อให้บรรลุแผนเหล่านี้คือ
● ส่งเสริมให้ประชาชนแลกเปลี่ยนรถเก่าเป็นรถใหม่ ซึ่งไม่เพียงแต่นำไปใช้กับรถยนต์ไฟฟ้าเท่านั้น
● แนะนำการแลกคูปองมูลค่าใบละ 100,000 บาท ที่เรียกว่า Trade in-coupons สำหรับเจ้าของรถแต่ละคนซึ่งสามารถนำมาใช้ลดหย่อนภาษีได้
● สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับบุคคล และ บริษัท ในการแลกเปลี่ยนรถเก่าเป็นรถใหม่ หรือ รถยนต์ไฟฟ้า

เมื่อย้อนกลับไปในปีพ.ศ. 2560 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (Board of Investment: BOI) ของไทยได้เปิดตัวสิทธิพิเศษสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า แก่ผู้ผลิตรถยนต์ และ ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ซึ่งครอบคลุมรถยนต์ไฟฟ้า 3 ประเภท ได้แก่ รถยนต์ไฟฟ้าไฮบริด (Hybrid), รถยนต์ไฟฟ้าปลั๊กอินไฮบริด (Plug-in Hybrid) และรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (Battery-Powered) สิทธิพิเศษนี้รวมถึงการยกเว้นภาษีในช่วงเวลา 5 ถึง 8 ปี และ การยกเว้นภาษีนำเข้าสำหรับรถยนต์ และเครื่องจักร สิทธิพิเศษนี้มอบให้แก่ บริษัท 13 แห่ง ได้แก่ โตโยต้า (Toyota), ฮอนด้า (Honda), นิสสัน (Nissan), มาสด้า (Mazda), เมอร์เซเดส-เบนซ์ (Mercedes-Benz), บีเอ็มดับเบิลยู (BMW), เอสเอไอซี มอเตอร์-ซีพี (SAIC Motor-CP), เอฟโอเอ็มเอ็ม (FOMM), มิตซูบิชิ (Mitsubishi) และ มาย มอเตอร์ (Mine Motors)

สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (EV Charging Ports) ในประเทศไทย

หนึ่งในความกลัวข้อสำคัญที่สุดในการเป็นเจ้าของรถยนต์ไฟฟ้า หรือ ยานพาหนะไฟฟ้า คือ น้ำในแบตเตอรี่หมดกลางทาง และไม่มีสถานีชาร์จอยู่ใกล้ ๆ แต่นั่นจะไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไปเพราะกระทรวงพลังงานของไทยระบุว่าจะสร้างสถานีชาร์จห่างกันประมาณ 50 -70 กม. เพื่อรองรับการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น 30% ของการผลิตรถยนต์ทั้งหมดในประเทศภายในปีพ.ศ. 2573
หากในตอนนี้คุณเป็นเจ้าของรถยนต์ไฟฟ้า คุณควรวางใจได้เลย เนื่องจากบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ Energy Absolute Public Co Ltd (EA) ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารายใหญ่ที่สุด และ เป็นผู้ให้บริการสถานีชาร์จได้สร้างแอปพลิเคชันบนมือถือชื่อ “EA Anywhere” ซึ่งคุณสามารถใช้ค้นหาสถานีชาร์จที่ใกล้เคียงได้ สิ่งที่คุณต้องทำก็เพียงแค่เปิดแอปพลิเคชัน, ยืนยันตำแหน่งปัจจุบันของคุณจากแผนที่ และ เลือกประเภทของการชาร์จที่คุณต้องการสำหรับรถยนต์ของคุณ (ชาร์จแบบปกติ หรือ ชาร์จแบบเร็ว) จากนั้นแอปพลิเคชันจะแสดงสถานีที่มีอยู่ใกล้คุณโดยจัดอันดับตามระยะทาง
คุณในฐานะผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าจึงไม่ควรที่จะมีปัญหาในการเดินทางทั่วประเทศไทย เนื่องจากมีสถานีชาร์จจำนวนมากจากผู้ให้บริการต่างๆเช่น วิทร่า (VITRA), เทสล่า (Tesla) และ เอฟโอเอ็มเอ็ม (FOMM) โดยเฉพาะในเขตเมือง อย่างกรุงเทพฯ, พัทยา, เชียงใหม่และ สงขลา

ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้านฉบับ 101

80% ของเวลาที่คุณชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้าน ซึ่งหมายความว่าสิ่งนี้สำคัญอย่างยิ่งสำหรับคุณที่จะต้องรู้ว่าคุณกำลังทำอะไร และเพื่อชาร์จได้อย่างถูกต้อง เพื่อให้กระบวนการทั้งหมดง่ายที่สุดสำหรับผู้ที่อาจจะยังสับสน เราได้จัดเตรียมคำถามที่พบบ่อยเพื่อตอบคำถามของคุณทั้งหมดเกี่ยวกับการชาร์จไฟที่บ้าน

1. เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าเหมือนกันหมดหรือไม่

ในภาพอาจจะมี หนึ่งคนขึ้นไป และผู้คนกำลังเต้นรำ

เมื่อพูดถึงการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้าน ซึ่งมี 2 ตัวเลือกด้วยกัน – เครื่องชาร์จที่ให้มา เมื่อคุณมีรถ หรือ ติดตั้งอุปกรณ์ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบบสองทิศทาง ซึ่งเรียกว่า วอลล์บ็อกซ์ (Wallbox Charger) เครื่องชาร์จที่รถของคุณให้มาที่ใช้พลังงานจากแหล่งจ่ายไฟภายในบ้านของคุณ ซึ่งใช้งานง่าย และ พกพาได้ แต่ข้อเสียคือการชาร์จอาจใช้เวลาถึง 24 ชั่วโมงในการชาร์จจนเต็ม เครื่องชาร์จวอลล์บ็อกซ์ คือเครื่องชาร์จแบบสแตนด์อโลนที่ต่อเข้ากับแหล่งจ่ายไฟฟ้าในบ้านของคุณได้โดยตรง ซึ่งเครื่องจะถูกติดตั้งกับผนังภายนอกของที่อยู่อาศัยของคุณ ซึ่งช่วยให้คุณสามารถเชื่อมต่อเข้ากับรถของคุณได้อย่างรวดเร็ว และ ง่ายดายเพื่อชาร์จ และที่ดียิ่งขึ้นคือคุณยังสามารถซื้ออุปกรณ์แบบชาร์จเร็วที่จะลดเวลาในการชาร์จแบตเตอรี่ลง ในขณะที่ยังมีหน่วย “อัจฉริยะ” ที่คุณสามารถตั้งโปรแกรมจากระยะไกลเพื่อชาร์จในบางช่วงเวลาเท่านั้น

2. การติดตั้งเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้านมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่

ในภาพอาจจะมี หนึ่งคนขึ้นไป

ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับความเร็วในการชาร์จที่คุณต้องการ และ คุณสมบัติอัจฉริยะสุดล้ำที่คุณต้องการจากเครื่องชาร์จของคุณ เครื่องชาร์จที่ราคาถูกที่สุดคือเครื่องชาร์จแบบช้า 3kW และ รุ่นที่ราคาแพงกว่าคือ 7kW ซึ่งชาร์จได้เร็วกว่า หากต้องการคุณสมบัติสุดล้ำที่สามารถควบคุมได้จากสมาร์ทโฟนของคุณนั่นจะทำให้คุณเสียค่าใช้จ่ายมากที่สุด

3. เทคโนโลยีเครื่องชาร์จอัจฉริยะ (Smart Charger) คืออะไร และ ฉันจำเป็นต้องมีไหม

เครื่องชาร์จอัจฉริยะ คือ วอลล์บ็อกซ์ (Wallbox) ที่ใช้เครือข่ายไร้สาย (Wi-Fi) หรือ บลูทูธ (Bluetooth) เพื่อเชื่อมต่อกับแอปพลิเคชันต่างๆบนสมาร์ทโฟนของคุณ ในการทำเช่นนี้จะช่วยให้คุณสามารถปรับแต่งตารางการชาร์จรถของคุณจากระยะไกล ทำให้คุณสามารถเลือกได้ว่าจะชาร์จไฟเมื่อใด รวมถึงปริมาณไฟฟ้าที่จะชาร์จลงในแบตเตอรี่ ซึ่งความต้องการนี้ก็ขึ้นอยู่กับคุณโดยสิ้นเชิง เพราะการชาร์จรถโดยใช้สิ่งนี้จะทำให้เสียค่าใช้จ่ายมากกว่าเครื่องชาร์จปกตินั่นเอง

4. ควรซื้อเครื่องชาร์จแบตเตอรี่สำหรับเก็บพลังงานไฟฟ้า (Power Wall) แบบใด

กระแสไฟฟ้าที่อุปกรณ์ชาร์จของคุณสามารถจ่ายได้จะขึ้นอยู่กับทั้งสายไฟภายในบ้าน และ อะแดปเตอร์เครื่องชาร์จที่ติดตั้งในตัวรถของคุณ สำหรับราคาต่ำสุดคือเครื่องชาร์จแบบช้า 3kW ซึ่งแม้ในบางรุ่นเช่น นิสสัน ลีฟ (Nissan Leaf) ที่มีแบตเตอรีเพียง 40kWh ก็ต้องใช้เวลาในการชาร์จให้เต็มถึง 12 ชั่วโมงในขณะที่ อาวดี้ อี-ทรอน (Audi e-Tron) ซึ่งเป็นรถรุ่นใหญ่จะต้องใช้เวลามากกว่า 24 ชั่วโมงเลยทีเดียว

ในขณะที่ประเทศไทยกำลังดำเนินแผนที่จะทำให้ประเทศครองแชมป์ด้านรถยนต์ไฟฟ้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เราหวังว่าด้วยแรงจูงใจเหล่านี้จากรัฐบาล รวมถึงผลประโยชน์โดยรวมของการมีรถยนต์ไฟฟ้า คุณก็จะเปลี่ยนแปลงตัวเองได้เช่นกันด้วยการเป็นเจ้าของรถยนต์ไฟฟ้า สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าบางรุ่นที่คุณสามารถเป็นเจ้าของได้ ได้แก่ นิสสัน ลีฟ (Nissan Leaf), นิสสัน คิกส์ อี-พาวเวอร์ (Nissan Kicks e-POWER), มิตซูบิชิ เอาท์แลนเดอร์ พีเอชอีวี (Mitsubishi Outlander PHEV) และ บีเอ็มดับเบิลยู เอ็กซ์ 3 เอ็กซ์ไดร์ฟ 30 อี (BMW X3 xDrive30e)
หากต้องการขายรถคันปัจจุบันของคุณ อย่าลืมนำมาขายให้กับ Carsome เยี่ยมชมเว็บไซต์เพื่อรับข้อมูลวิธีการนัดหมายสำหรับคุณวันนี้