คู่มือการขอสินเชื่อรถยนต์ พร้อมเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยฉบับสมบูรณ์

สินเชื่อรถยนต์ หรือ สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ เป็นสิ่งที่ผู้ซื้อรถทุกคนควรศึกษาก่อนจะตัดสินใจซื้อรถสักคัน ไม่ว่าจะซื้อรถมือหนึ่งหรือมือสอง เพราะในการชำระเงินมี 2 ตัวเลือกให้คุณเลือก ได้แก่การชำระเงินสดหรือการใช้สินเชื่อรถยนต์นี้เอง

อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ซื้อรถคันแรกอาจจะมีความสับสนเกี่ยวกับสินเชื่อรถยนต์อยู่บ้าง วันนี้เราเลยจะมาอธิบายเกี่ยวกับเรื่องนี้ให้เข้าใจอย่างละเอียด รวมถึงบอกอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินต่าง ๆ ให้ได้ตัดสินใจเลือกกันอีกด้วย

 

สารบัญ

 

 

สินเชื่อรถยนต์คืออะไร?

สินเชื่อรถยนต์คืออะไร

สินเชื่อรถยนต์ คือสินเชื่อส่วนบุคคลรูปแบบหนึ่งที่ช่วยเป็นเงินทุนในการซื้อยานยนต์ทั้งมือหนึ่งและมือสอง เป็นสัญญาการซื้อ-ขายระหว่างผู้ซื้อกับผู้จำหน่ายรถยนต์ผ่านตัวการอย่างสถาบันทางการเงิน 

ผู้ซื้ออาจคำนึงถึงการขอสินเชื่อรถยนต์ได้จากหลายปัจจัย เช่น

  • เงินเก็บของผู้ซื้อไม่สามารถครอบคลุมค่าใช้จ่ายล่วงหน้าทั้งหมดได้
  • ผู้ซื้อมีภาระผูกพันทางการเงินอื่น ๆ
  • ผู้ซื้อชอบจ่ายเงินเป็นงวด ๆ เพื่อให้เกิดความสมดุล และเพิ่มกระแสเงินสดของตน

ซึ่งท้ายที่สุดแล้ว ผู้ซื้ออาจจะไม่มีเงินทุนสำรองก้อนใหญ่ ดังนั้นสินเชื่อรถยนต์จึงเข้ามาช่วยคุณได้

ขั้นตอนของสินเชื่อรถยนต์: สถาบันการเงินจะเป็นผู้ให้บริการสินเชื่อรถยนต์ เมื่อผู้ซื้อขอสินเชื่อแล้ว ธนาคารจะเป็นผู้ชำระเงินให้ก่อน โดยผู้ซื้อต้องทำสัญญาชำระเงินคืนเป็นรายเดือน เมื่อชำระครบก็จะโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ให้กับผู้ซื้อ และนอกจากเงินต้นที่ต้องชำระแล้วก็ยังมีอัตราดอกเบี้ยที่ต้องชำระให้ครบเช่นเดียวกัน โดยอัตราดอกเบี้ยนี้ก็จะแตกต่างกันไปตามสถาบันทางการเงินและระยะเวลาในการผ่อน

 

 คำแนะนำในการเลือกสินเชื่อรถยนต์

สินเชื่อรถยนต์คืออะไร

  • ศึกษาข้อมูลของสถาบันการเงินที่ต้องการขอสินเชื่อรถ 

ในการเลือกสินเชื่อรถยนต์ การเลือกสถาบันทางการเงินที่มีเครดิตและน่าเชื่อถือก็เป็นสิ่งสำคัญอันดับต้น ๆ ควรคำนึงถึงทางเลือกการชำระเงินที่มีให้หลายช่องทางเพื่อความสะดวกและหลากหลาย รวมถึงมีการให้บริการที่มีประสิทธิภาพ

  • พิจารณาราคาสินเชื่อรถยนต์และดอกเบี้ย

ตลาดสินเชื่อรถยนต์ในประเทศไทยมีการแข่งขันสูง ข้อเสียคือผู้ซื้อจะต้องสำรวจ และ ค้นคว้าหาทางเลือกที่มีอยู่มากมายในการหาเงินกู้ที่เหมาะสมกับความต้องการทางการเงินของตนเอง แต่ในแง่ดีนั้นหมายความว่าผู้ซื้อจะได้รับการเสนอราคาในอัตราที่ไม่แพง โดยคาดว่าจะมีอัตราดอกเบี้ยต่ำถึง 1.95% และ สามารถอยู่ในช่วงสูงถึง 13% เลยทีเดียว – ซึ่งแน่นอนว่าอัตรานี้ขึ้นอยู่กับแผนการชำระหนี้ 

ดังนั้นผู้ซื้อควรเลือกจากอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ โดยคำนึงถึงระยะเวลาในการผ่อนที่เหมาะสมกับตนเอง

  • ใช้โปรแกรมคำนวณสินเชื่อรถยนต์

  การใช้โปรแกรมคำนวณสินเชื่อรถยนต์เป็นวิธีที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งในการลดเวลาในการค้นคว้าข้อมูลของคุณ โปรแกรมคำนวณสินเชื่อรถยนต์ช่วยให้ผู้ซื้อสามารถที่จะ

  • ทราบจำนวนเงินชำระคืนเงินกู้รถยนต์รายเดือนโดยประมาณ
  • สร้าง และ ดูแผนภูมิการชำระคืนเงินต้น, ดอกเบี้ย และ ยอดคงเหลือ ซึ่งคือตลอดช่วงเวลาเงินกู้ที่เลือกไว้
  • เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับตารางการชำระคืนเงินต้น, ดอกเบี้ย และ ยอดคงเหลือเป็นรายปี

  นอกจากนี้ คุณไม่จำเป็นที่จะต้องทำอะไรมากมายเพื่อรับข้อมูลสินเชื่อรถยนต์เหล่านี้ การใช้โปรแกรมคำนวณสินเชื่อรถยนต์นั้นค่อนข้างง่าย สิ่งที่คุณต้องทำก็คือ:

  1. ใส่ราคารถในสกุลเงินบาท (THB)
  2. ใส่จำนวนเงินดาวน์ที่ต้องการเป็นสกุลเงินบาท (THB)
  3. ป้อนระยะเวลาสินเชื่อรถยนต์ที่ต้องการเป็นปี
  4. ป้อนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นเปอร์เซ็นต์

เพียงป้อนข้อมูลทั้งหมด กดคลิก แล้วคุณจะได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ และ ข้อมูลที่จำเป็นทั้งหมดสำหรับสินเชื่อรถยนต์ของคุณ ธนาคารหลายแห่งทั่วประเทศไทยได้สร้างโปรแกรมคำนวณสินเชื่อสำหรับกลุ่มผู้ที่มีโอกาสมาเป็นลูกค้า (Potential Clients) เช่น ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารกสิกรไทย และ ธนาคารกรุงศรี

  • พิจารณาตัวเลือกสินเชื่อรถยนต์มือสอง 

สินเชื่อสำหรับยานยนต์ในประเทศไทยมีอยู่ 3 ประเภทด้วยกัน จากข้อมูลของบริษัท The Asian Banker สินเชื่อรถยนต์มือหนึ่งเป็นทางเลือกทางการเงินที่พบบ่อยที่สุด โดยสูงถึง 70% อย่างไรก็ตามธนาคารยังให้บริการสินเชื่อรถยนต์มือสองอีกด้วย โดยมากถึง 18% ซึ่งพอร์ตการลงทุนของธนาคารในประเทศไทยเป็นสินเชื่อรถยนต์มือสอง และสุดท้ายคือสินเชื่อประเภทขายและเช่าคืน (Sale and Leaseback) ภายใต้โครงการสินเชื่อรถแลกเงิน หรือ Cash Your Car (CYC) สูงถึง 12%

สินเชื่อรถยนต์มือสองมีไว้สำหรับผู้ที่ต้องการได้รับเงินทุนเมื่อซื้อรถมือสอง แม้ว่านี่จะเป็นภาระผูกพันเล็กน้อยสำหรับรถยนต์มือสอง แต่นี่เป็นทางออกทางการเงินที่เหมาะสมสำหรับผู้ซื้อรถ

ลองใช้สถานการณ์นี้เป็นตัวอย่าง หากคุณต้องการซื้อรถมือหนึ่งในราคาประมาณ 970,000 บาท และ คุณมีรายได้ประมาณ 450,000 บาทต่อปี ตามหลักแล้วคุณต้องวางเงินดาวน์อย่างมากที่สุด 195,000 บาท (~ 20% ของราคา) และ ใช้เงินกู้ 5 ปีเพื่อชำระคืนส่วนที่เหลือ ซึ่งคุณควรที่จะจ่ายไม่เกิน 7,500 บาทต่อเดือน (หรือประมาณ 20% ของเงินเดือนของคุณ) สำหรับค่าใช้จ่ายส่วนนี้

  ข้อเสนอนี้ดูไม่เลวเลยทีเดียว แต่ทำไมไม่ลองทำให้ภาระน้อยลงด้วยการเลือกซื้อรถมือสองแทนล่ะ

รถรุ่นเดียวกันกับที่คุณกำลังมองหานั้นมีมูลค่าลดลง และ เสื่อมราคาลง สมมติว่าภายใน 3 ปี รถมือสองจะราคาถูกลงประมาณ 30% ทำให้ราคาลดเหลือเพียง 500,000 บาท ซึ่งประหยัดได้มากกว่า 200,000 บาท และ ลดการชำระหนี้รายเดือนของคุณเหลือเพียงประมาณ 6,000 บาท หากคุณยังคงกู้เงินเป็นเวลา 5 ปีเพื่อซื้อรถ หรือ คุณสามารถทำให้ระยะเวลาสั้นลงได้อีกด้วย

ประโยชน์อื่น ๆ ของการซื้อรถมือสองคือเจ้าของรถสามารถเพลิดเพลินกับอัตราค่าประกันรถยนต์ที่ลดลง รวมถึงการต่ออายุทะเบียน และเนื่องจากการเลือกซื้อรถยนต์มือสองจะช่วยประหยัดมูลค่าโดยรวมของคุณได้มากขึ้น ดังนั้นคุณสามารถพิจารณารถรุ่นที่สูงขึ้นได้

 

เอกสารที่ต้องใช้ในการขอสินเชื่อรถยนต์

เอกสารที่ต้องใช้ในการขอสินเชื่อรถยนต์

เมื่อตัดสินใจได้แล้วว่าต้องการจะขอสินเชื่อรถยนต์ คราวนี้ก็ถึงเวลามาจัดเตรียมเอกสารและขั้นตอนต่าง ๆ ให้ครบถ้วน มาดูกันเลยว่าเอกสารที่คุณต้องเตรียมในการขอสินเชื่อรถยนต์มีอะไรบ้าง

คุณสมบัติของผู้ขอสินเชื่อ: อายุ 20 – 60 ปี

เอกสารที่ต้องใช้ขอสินเชื่อ

  • สำเนาบัตรประชาชน หรือ สำเนาบัตรข้าราชการ 4 ชุด
  • สำเนาทะเบียนบ้าน 4 ชุด
  • สำเนาทะเบียนสมรส (ถ้ามี)
  • สมุดบัญชีเงินฝาก ย้อนหลัง6เดือน
  • หลักฐานแสดงที่มาของรายได้หรือหนังสือรับรองเงินเดือน
  • หนังสือรับรองบริษัทและใบภ.พ.20 (กรณีนิติบุคคล)
  • กรณีเจ้าของกิจการ – ใช้หนังสือรับรองบริษัท (อายุไม่เกิน3เดือน)

 

ขั้นตอนในการขอสินเชื่อรถยนต์

เมื่อรู้ว่าต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้างแล้ว ต่อไปเราก็มาดูกันเลยว่าขั้นตอนการขอสินเชื่อรถยนต์นั้นมีอะไรบ้าง และขั้นตอนนั้นก็ไม่ยุ่งยากวุ่นวายอะไรเลย เพราะต้องทำแค่ไม่กี่ขั้นตอนเท่านั้น ดังนี้

  • เลือกธนาคารหรือสถาบันทางการเงินที่ต้องการขอสินเชื่อ (อาจคำนึงจากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่เหมาะสมกับตนเอง)
  • เตรียมเอกสารการขอสินเชื่อให้เรียบร้อยและยื่นให้กับธนาคาร
  • ฝ่ายประเมินสินเชื่อทำการตรวจสอบ ไม่เกิน 7 วันทำการ
  • เมื่อได้รับผลการอนุมัติแล้วก็ต้องทำสัญญากู้ยืม
  • รับรถยนต์และสำเนาทะเบียนรถ (เล่มจริงจะอยู่ที่สถาบันการเงิน จะได้รับเมื่อผ่อนเสร็จสิ้น)

 

ทำความเข้าใจอัตราดอกเบี้ยเงินกู้

ก่อนที่จะไปขอสินเชื่อธนาคาร ขั้นตอนแรกคือต้องทำความเข้าใจกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้กันเสียก่อน โดยดอกเบี้ยเงินกู้สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

  • อัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบคงที่ (Fixed Rate) คือ อัตราดอกเบี้ยที่มีการกำหนดเปอร์เซ็นต์ตายตัวและจะไม่มีการปรับเปลี่ยนอีกตลอดระยะเวลาที่กู้
  • อัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบลอยตัว (Floating Rate) คือ อัตราดอกเบี้ยที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามการลงทุนของผู้ให้กู้

วิธีการคำนวณดอกเบี้ย

ในการคำนวณดอกเบี้ยเงินกู้ ส่วนใหญ่นั้นใช้การคำนวณแบบอัตราดอกเบี้ยต่อปีและยังต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น มูลค่าของเวลา (ยิ่งกู้นานดอกเบี้ยยิ่งสูง) โดยอัตราดอกเบี้ยที่ควรจะรู้จักไว้ก่อนจะทำการขอสินเชื่อรถยนต์ ได้แก่

  • อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Real Interest Rate) หมายถึงอัตราดอกเบี้ยที่ระบุไว้หักลบด้วยอัตราเงินเฟ้อ
    • ตัวอย่าง: ฝากเงิน 10,000 บ าทไว้กับธนาคารพาณิชย์โดยได้รับดอกเบี้ย 2% ต่อปี หากอัตราเงินเฟ้อเท่ากับ 3% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงจะเท่ากับ -1% (2% – 3% = -1%) หรืออัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงติดลบ 1% ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่ากำลังซื้อจะลดลง เช่น หากต้องการซื้อสินค้าราคา 10,000 บาท ในตอนต้นปี ถ้าเงินฝากจำนวน 10,000 บาท ซึ่งได้รับดอกเบี้ย 2% พอถึงสิ้นปีเงินฝากนี้ก็จะมีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 10,200 บาท แต่ราคาสินค้าทั่วไปกลับเพิ่มขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อเป็น 10,300 บาท เงินออมที่มีจึงไม่เพียงพอที่จะซื้อสินค้าชิ้นนี้ (ขอบคุณข้อมูลจาก: https://www.set.or.th/)
  • อัตราดอกเบี้ยที่ผู้กู้เงินต้องจ่ายจริง (Effective Interest Rate) หมายถึง อัตราดอกเบี้ยที่คำนวณจากจำนวนเงินที่ผู้กู้ได้รับจริง ระยะเวลาการกู้ยืม การจ่ายคืนเงินต้นและดอกเบี้ยในแต่ละงวด โดยจะพิจารณาจากส่วนต่างที่แท้จริงของเงินต้นกับเงินที่ผู้กู้ต้องจ่ายคืน
    • ตัวอย่าง: กู้เงินผ่อนสินค้า 30,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 2% ต่อเดือน โดยจะต้องชำระทั้งสิ้น 24 เดือน ซึ่งเงินผ่อนชำระต่อเดือน = (เงินต้น + ดอกเบี้ย)  จำนวนงวด = [30,000 + (30,000 x 2% x 24)]  24 = 1,850 บาทต่อเดือน หรือคิดเป็นเงินที่จ่ายคืนให้เจ้าหนี้ทั้งสิ้น 44,400 บาท ซึ่งเมื่อคำนวณเปรียบเทียบกับเงินต้นและระยะเวลาที่กู้ยืมแล้ว จะต้องเสียดอกเบี้ย 3.41ต่อเดือนหรือ 40.88% ต่อปี (ขอบคุณข้อมูลจาก: https://www.set.or.th/)

 

เปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยขอสินเชื่อรถมือสอง

รวมอัตราดอกเบี้ยรถมือสองสำหรับสินเชื่อรถยนต์

ต่อมา เมื่อเข้าใจเกี่ยวกับสินเชื่อรถยนต์และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้กันอย่างคร่าว ๆ แล้วก็มาดูอัตราดอกเบี้ยรถมือสองของสถาบันทางการเงินต่าง ๆ กันดูบ้างเพื่อเป็นแนวทางการตัดสินใจเลือกได้ถูกต้องกัน

 

ธนาคาร

ปีที่จดทะเบียน อัตราดอกเบี้ยคงที่ต่อปี (Flat Interest Rate) อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงต่อปี (Effective Interest Rate)
ไทยพาณิชย์ รถยนต์อายุไม่เกิน 9 ปี

รถยนต์อายุ 10 ปีขึ้นไป

13%

17%

26%

34%

ลีสซิ่งกสิกรไทย 2560 – 2561

2558 – 2559

2554 – 2555

3.25% – 6.45%

3.50% – 6.70%

3.95% – 6.85%

6.40% – 12.71%

6.90% – 13.20%

7.78% – 13.49%

ธนาคารธนชาต 2559 ขึ้นไป

2557 – 2558

2555 – 2556

2550 – 2554

3.90% – 13.95%

4.35% – 14.35%

4.65% – 14.75%

5.70% – 15.25%

7.29% – 22.17%

8.10% – 22.70%

8.63% – 23.24%

10.46% – 23.90%

ธนาคารเกียรตินาคิน 3.75% – 15.00% 7.00% – 27.69%
ธนาคารทิสโก้ 2558 ขึ้นไป

2556 – 2557

2554 – 2555

6.00%

6.50%

7.00%

10.97%

11.83%

12.68%

ซีไอเอ็มบีไทย ออโต้ รถยนต์ใช้แล้ว

รถยนต์ใช้แล้ว (อายุ 15 – 19 ปี)

22.75%

21.75%

33.33%

34.98%

เงินติดล้อ

2563 – 2558

2557 – 2553

2552 – 2548

2547 – 2543

1.00% ต่อเดือน

1.25% ต่อเดือน

1.50% ต่อเดือน

1.75% ต่อเดือน

21.46% – 36.74%

 

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่:

สินเชื่อรถยนต์ธนาคารไทยพาณิชย์

อัตราดอกเบี้ยธุรกิจสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ ลีสซิ่งกสิกรไทย

อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อรถยนต์ใช้แล้ว ธนาคารธนชาต

อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ และสินเชื่อรถกู้เงินด่วน ธนาคารเกียรตินาคิน

อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ใช้แล้ว ทิสโก้

สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ใช้แล้ว CIMB Thai

อัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม เงินติดล้อ

 

 

การปรับอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อรถยนต์มือสอง

 

สินเชื่อรถยนต์มือสองอาจเป็นตัวเลือกทางการเงินที่พบบ่อยที่สุดในประเทศไทยในขณะนี้ ซึ่งยังคงสามารถรองรับการให้บริการได้ ในความเป็นจริงมีการเปลี่ยนแปลงในตลาดเมื่อเร็ว ๆ นี้

ข้อพิสูจน์คือ จุดมุ่งหมายของธนาคารธนชาตในการปรับปรุงกระบวนการทำงานเบื้องหลัง (Back-End Process) ซึ่งรวมถึงการอนุมัติสินเชื่อ, การให้คะแนน และ โครงสร้างพื้นฐานสำหรับยานพาหนะมือสอง ตามข้อมูลที่เผยแพร่ใน The Asian Banker ธนชาตคลายนโยบายเล็กน้อยสำหรับรถยนต์มือสอง และ ขยายการปล่อยสินเชื่อไปยังกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงขึ้น ธนาคารยังเพิ่มอัตราการอนุมัติล่วงหน้าจาก 83% เป็น 88% และ เพิ่มปริมาณสินเชื่อรถยนต์มือสองเป็นสองเท่า ปริมาณรถยนต์มือสองของธนชาตฟื้นตัวจากการดำเนินงานนี้ โดยสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้เติบโตเล็กน้อยเป็น 0.14%

พูดง่ายๆก็คือมีอุปสงค์ และ อุปทานสำหรับรถยนต์มือสองซึ่งมาพร้อมกับการอนุมัติที่ราบรื่นขึ้น และ อัตราสินเชื่อรถยนต์มือสองที่ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม คุณควรทราบว่าโดยทั่วไปแล้วอัตราสินเชื่อรถยนต์มือสองจะสูงกว่าอัตราสินเชื่อรถยนต์มือหนึ่ง ในประเทศไทยอัตราสินเชื่อรถยนต์มือสองอยู่ระหว่าง 7.2% (อัตราคงที่) ถึง 14.2% (อัตราคงที่) แน่นอนว่าขึ้นอยู่กับธนาคารที่เลือก, ระยะเวลาการชำระหนี้ และ อื่น ๆ

ท้ายที่สุดแล้วการขอสินเชื่อรถยนต์ถือเป็นข้อผูกมัด ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำไมเราจึงแนะนำให้ใช้เวลาในการเปรียบเทียบตัวเลือกต่างๆ คุณควรพิจารณาความจำเป็น และ ความต้องการของคุณตั้งแต่ยี่ห้อ และ รุ่นของรถยนต์ ไปจนถึงพิจารณาว่ารถยนต์มือสองหรือรถมือหนึ่งที่เหมาะสมกว่ากัน รวมถึงตรวจสอบความต้องการของคุณด้วยตัวเลือกสินเชื่อต่างๆ คุณควรคำนึงถึงปัจจัยข้างต้น และ จดจำไว้ว่า อัตราดอกเบี้ยไม่ใช่สิ่งเดียวที่คุณควรพิจารณา

เคล็ดลับทั้งหมดนี้สามารถช่วยให้คุณตัดสินใจได้ดีที่สุด และ เข้าใกล้รถในฝันของคุณไปอีกขั้นหนึ่ง อย่าลืมเยี่ยมชมเว็บไซต์ของ Carsome เพื่อทราบว่าคุณจะสามารถขายรถมือสองเพื่อเพิ่มพื้นที่สำหรับรถคันใหม่ของคุณได้อย่างไร

 

อ่านบทความต่อ: สิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับประกันรถยนต์ พร้อมเปรียบเทียบเบี้ยประกันฉบับสมบูรณ์ หรือ วิธีต่อใบขับขี่ออนไลน์ง่ายๆ ทำเองได้ ไม่กี่ขั้นตอน

 

หากคุณกำลังสนใจจะ ซื้อรถ หรือ ขายรถ แล้วล่ะก็… ที่ Carsome เสนอราคาให้คุณได้ดีที่สุด! เรามีขั้นตอนการชำระเงินที่รวดเร็ว และไม่มีขั้นตอนยุ่งยากใด ๆ คลิกที่เว็บไซต์เพื่อศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้เลย!