ยามอุบากอง 2566 ศาสตร์บอก ฤกษ์งามยามดี สำหรับ ออกรถ ที่แม่นที่สุด

ยามอุบากอง 2566 ศาสตร์บอก ฤกษ์งามยามดี ฤกษ์ดีวันนี้ ออกรถ ที่แม่นที่สุด

ยามอุบากอง เป็นอีกหนึ่งในศาสตร์การดู ฤกษ์งามยามดี  ก่อนออกจากบ้านที่ได้รับการสืบทอดมาตั้งแต่โบราณ โดยมีที่มาจาก “อุบากอง” นายทหารเอกของพม่าที่ถูกฝ่ายไทยจับกุมตัว และได้ใช้ฤกษ์ยามดังกล่าวช่วยเหลือพรรคพวกแหกคุกวัดโพธิ์ หลบหนีไปได้อย่างปลอดภัย ทำให้ศาสตร์ดังกล่าวเริ่มแพร่หลายจากนักโทษเชื้อสายไทยบางคนที่ไม่ได้หลบหนี เนื่องจากสอดคล้องกับความเชื่อของคนไทยสมัยก่อนที่มักจะถือเอาฤกษ์งามยามดีก่อนออกจากบ้าน เพื่อความเป็นสิริมงคล แคล้วคลาดปลอดภัยจากอุบัติเหตุและอันตรายทั้งปวง

ในปัจจุบัน ยามอุบากองกลับมาได้รับความนิยมออกครั้งด้วยชื่อเสียงเรื่องความแม่นยำในการดู ฤกษ์ยามเวลาดี ก่อนเดินทางหรือการทำกิจมงคลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ฤกษ์ออกรถ พบลูกค้า นำเสนองาน เข้าพบเจ้านาย ทำการสำคัญต่างๆ หรือเริ่มต้นทำอะไรสักอย่างให้ฉลุย ราบรื่น มีโชคลาภ ปลอดภัย ไร้อุปสรรคขัดขวาง ว่าแต่ ยามอุบากองคือ อะไร มีที่มาที่ไปอย่างไร ดู ฤกษ์ดีวันนี้ แม่นยำขนาดไหน วิธีดูยามอุบากอง ทำอย่างไร CARSOME นำมาฝากกันแล้ว

ซื้อรถมือสอง กับ CARSOME การันตีคุณภาพรถยนต์ ผ่านการตรวจเช็กอย่างละเอียดถึง 175 จุดพร้อมปรับสภาพให้ได้มาตรฐาน รับประกันสูงสุด 2 ปีเต็ม ราคาโปร่งใส คุ้มค่า ซื้อไปแล้วไม่พอใจ การันตีคืนเงินภายใน 30 วัน

นึกถึง รถมือสอง ต้อง CARSOME

ซื้อรถยนต์มือสอง

ยามอุบากอง วันนี้ 2566 พร้อมข้อมูลน่ารู้

ยามอุบากอง 2566 คือ อะไร อุบากองเป็นใคร

อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า ฤกษ์อุบากอง เป็นศาสตร์ความเชื่อโบราณที่ได้รับความนิยมใช้ทำนายเพื่อดูฤกษ์งามยามดีสำหรับการเดินทางไปทำมาค้าขาย หรือประกอบธุรกิจต่างๆ โดยที่มาที่ไปของยามอุบากองนั้นมีข้อมูลทางประวัติศาสตร์จาก 2 ที่ด้วยกัน คือ “ตำราพรหมชาติ” และ “พระราชพงศาวดาร รัชกาลที่ 1” ที่บันทึกไว้

อย่างไรก็ตาม เรื่องราวความเป็นมาของยามอุบากองเป็นไปในทิศทางเดียวกันคือ เป็นตำรายันต์ยามยาตราที่นายทหารยศขุนพลนามว่า “อุบากอง” นำมาเผยแพร่ระหว่างถูกจับกุมตัวขณะที่พม่าคุมกำลังเข้าโจมตีเมืองเชียงใหม่เมื่อคราวที่พระเจ้าปะดุงยก 9 ทัพมาตีไทย โดยอุบากองเผยแพร่ตำรายามยันตราดังกล่าวเพื่อช่วยให้พรรคพวกสามารถแหกคุกวัดโพธิ์ที่คุมขังได้และหลบหนีกลับไปยังเมืองพม่าอย่างปลอดภัย อย่างไรก็ตาม มีนักโทษพม่าเชื้อสายไทยบางส่วนไม่ได้หลบหนีไปด้วย จึงบอกเล่ากับผู้คุมนักโทษเกี่ยวกับตำรายามยันตราดังกล่าวจนเป็นที่เล่าขานเกี่ยวกับความแม่นยำ และให้ชื่อยามยาตรานี้ตามชื่อเจ้าของยามยาตรานั่นเอง

ยามอุบากอง 2566 แต่ละสัญลักษณ์มีความหมายอย่างไร

ตัวอย่างยันต์ ยามอุบากอง 2566 ที่คนโบราณนิยมพกพาเพื่อดู ฤกษ์เดินทาง

ยามอุบากองมักใช้ในการค้นหา ฤกษ์งามยามดี วัน-เวลามงคลต่างๆ โดย ฤกษ์ยามอุบากอง จะใช้ได้ตั้งแต่ดูฤกษ์เดินทางในชีวิตประจำวันเพื่อพบปะลูกค้า เจรจาทางธุรกิจต่างๆ ไปจนถึงทำการสำคัญอย่างฤกษ์แต่งงาน ฤกษ์ออกรถใหม่ ฤกษ์เปิดกิจการร้านค้าขายของ ซึ่งถ้าเราดูแผ่นยามอุบากอง เราจะพบสัญลักษณ์เลขศูนย์หรือจุดสลับกับกากบาทปรากฎในตารางสี่เหลี่ยม ซึ่งรูปแบบตารางที่เคยเห็นจะมี 2 แบบหลัก ๆ แบบทั่วไป 7 X 5 หรือ 35 ช่อง แบบเล็กสุดก็ 5 X 5 หรือ 25 ช่องตามแต่ประเภทของยันต์ โดยสัญลักษณ์ในแต่ละช่องจะมีคำกลอนอธิบายดังต่อไปนี้

สูญหนึ่ง อย่าพึ่งจร แม้นราญรอนจะอัปรา

สองสูญ เร่งยาตรา จะมีลาภสวัสดี

สี่สูญ พูลผล จรดลาภมากมี

ปลอดสูญ พูลสวัสดิ์ ภัยพิบัติลาภไม่มี

กากะบาต ตัวอัปรี แม้จรลีจะอัปรา

จากคำกลอนดังกล่าว เราสามารถตีความสัญลักษณ์ต่างๆ ที่ปรากฎได้ดังนี้

1. จุดสีดำ 1 จุดหรือศูนย์ 1 ตัว

“สูญหนึ่ง อย่าพึ่งจร แม้นราญรอนจะอัปรา” หมายถึง อย่าเพิ่งออกเดินทางหรือทำการใด เพราะมีอันตราย จะทำสิ่งใดก็พ่ายแพ้

2. จุดสีดำ 2 จุดหรือศูนย์ 2 ตัว

“สองสูญ เร่งยาตรา จะมีลาภสวัสดี” หมายถึง เป็นฤกษ์ดี ให้รีบออกเดินทาง รีบดำเนินการ จะมีโชคมีลาภ เป็นเวลามงคล

3. จุดสีดำ 4 จุดหรือศูนย์ 4 ตัว

“สี่สูญ พูลผล จรดลาภมากมี” หมายถึง เป็นฤกษ์ดี ออกเดินทางแล้วจะมีโชคลาภ ประสบความสำเร็จ

4. เป็นช่องว่าง ไม่มีสัญลักษณ์

“ปลอดสูญ พูลสวัสดิ์ ภัยพิบัติลาภไม่มี” หมายถึง เป็นฤกษ์กลางๆ ฤกษ์ปกติ ไม่มีทั้งโชคและเคราะห์ ใช้ออกเดินทางได้

5. ไม่มีจุดสีดำหรือเลขศูนย์ มีแต่กากบาท

“กากะบาต ตัวอัปรี แม้จรลีจะอัปรา” หมายถึง ฤกษ์อัปมงคล ห้ามออกเดินทางหรือทำการใดโดยเด็ดขาด

นึกถึง รถยนต์มือสอง ต้อง CARSOME

ซื้อรถยนต์มือสอง

ยามอุบากอง 2566 ทั้ง 3 รูปแบบ

การเดินยามอุบากองมีทั้งหมดถึง 3 แบบ โดยแต่ละแบบ จะมีผู้ที่ศรัทธามักจะนำมาแกะสลักลงในรูปแบบของ “ยันต์อุบากอง” หรือ “ยันต์พม่าแหกคุก” เพื่อพกติดตัวหรือไม่ก็สักไว้ตามร่างกายสำหรับดูฤกษ์ ยามอุบากองวันนี้ล่าสุด 2565  อย่างไรก็ตาม ทุกแบบอ้างอิงการอ่านสัญลักษณ์ในลักษณะเดียวกัน แต่แตกต่างกันที่เกณฑ์การแบ่งลักษณะการเดินยามหรือเกณฑ์แบ่งช่วงเวลาดังต่อไปนี้

1. ยามอุบากองแบบอ้างอิงตามวันและเวลา

เป็นแบบตารางที่นิยมใช้ อาจเพราะมีเผยแพร่มากที่สุด เนื่องจากมีเพียง 1 ตาราง พกพาสะดวก และดูเข้าใจง่าย โดยในตารางจะมีวันทั้ง 7 คือ จันทร์ – อาทิตย์ และช่วงเวลาแบ่งเป็นกลางวัน 5 ยาม กลางคืน 5 ยาม ใน 1 ยามอุบากองจะเท่ากับ 2 นาฬิกากับ 4 บาท หรือหมายถึง 2 ชั่วโมง 24 นาที (1 บาทเท่ากับ 6 นาที) ซึ่งจะได้ช่วงรอบเวลาตกฤกษ์ต่างๆ ดังต่อไปนี้

เวลาเช้าสายเที่ยงบ่ายเย็น
กลางวัน06:01 น.
08:24 น.
08:25 น.
10:48 น.
10:42 น.
13:12 น.
13:13 น.
15:36 น.
15:37 น.
18:00 น.
กลางคืน18:01 น.
20:24 น.
20:25 น.
22:48 น.
22:49 น.
01:12 น.
01:13 น.
03:36 น.
03:37 น.
06:00 น.
วันอาทิตย์0000X000
วันจันทร์00000X00
วันอังคาร0000000X
วันพุธ0000000X
วันพฤหัสบดีX0000000
วันศุกร์0000X000
วันเสาร์00000X00

2. ยามอุบากองแบบอ้างอิงตามข้างขึ้นข้างแรมและเวลา

เป็นแบบที่พบเห็นในลักษณะเครื่องรางของขลังเป็นส่วนใหญ่ การเดินยามแบบนี้จะแบ่งช่วงวันและเวลาเหมือนแบบแรก โดยมี 2 ตารางใช้ประกอบกัน ตารางสำหรับในช่วงข้างขึ้นจะเป็นตารางเดียวกับยามอุบากองแบบที่ 1 แต่ถ้าเป็นข้างแรมต้องกลับเวลาจากเย็นไปเช้า

ตารางยามอุบากองข้างขึ้น

เวลาเช้าสายเที่ยงบ่ายเย็น
กลางวัน06:01 น.
08:24 น.
08:25 น.
10:48 น.
10:42 น.
13:12 น.
13:13 น.
15:36 น.
15:37 น.
18:00 น.
กลางคืน18:01 น.
20:24 น.
20:25 น.
22:48 น.
22:49 น.
01:12 น.
01:13 น.
03:36 น.
03:37 น.
06:00 น.
วันอาทิตย์0000X000
วันจันทร์00000X00
วันอังคาร0000000X
วันพุธ0000000X
วันพฤหัสบดีX0000000
วันศุกร์0000X000
วันเสาร์00000X00

ตารางยามอุบากองข้างแรม

เวลาเย็นบ่ายเที่ยงสายเช้า
กลางวัน15:37 น.
18:00 น.
13:13 น.
15:36 น.
10:42 น.
13:12 น.
08:25 น.
10:48 น.
06:01 น.
08:24 น.
กลางคืน03:37 น.
06:00 น.
01:13 น.
03:36 น.
22:49 น.
01:12 น.
20:25 น.
22:48 น.
18:01 น.
20:24 น.
วันอาทิตย์0000X000
วันจันทร์00000X00
วันอังคาร0000000X
วันพุธ0000000X
วันพฤหัสบดีX0000000
วันศุกร์0000X000
วันเสาร์00000X00

3. ยามอุบากองแบบอ้างอิงตามดิถีค่ำและเวลา

การเดินยามแบบใช้ดิถีค่ำและเวลาจะคล้ายกับการเดินยามแบบแรก เพียงแต่ตัดวันศุกร์และวันเสาร์ออก ซึ่งจะเหลือ 5 X 5 หรือ 25 ช่อง วิธีการเดินยามแบบนี้จะอ้างอิงตามดิถีค่ำข้างขึ้น-ข้างแรม โดยจะนับทีละช่องเริ่มจาก ๑ ค่ำ ถึง ๕ ค่ำ พอขึ้น ๖ ค่ำ ก็เริ่มนับที่ช่องแรกใหม่วนไปเรื่อยๆ จนถึงค่ำที่ต้องการ ซึ่งค่ำหรือดิถีที่นิยมใช้กันอยู่ปัจจุบันก็มีทั้งหมด 3 แบบให้เลือกใช้ตามความสะดวกหรือข้อมูลที่มีอยู่ดังนี้

  1. ใช้ตามปฏิทินจันทรคติไทย ซึ่งมีการทดวัน ทดเดือน และอาจมีคลาดเคลื่อนผิดจากตำแหน่งจันทร์จริง
  2. ใช้ดิถีโหรที่คำนวณจากตำแหน่งจันทร์จริง จากดิถีในปฏิทินโหราศาสตร์ ที่มีบอกดิถีตำแหน่งดาวที่ได้คำนวณไว้แล้ว
  3. ใช้ตามปฏิทินจีน ซึ่งค่อนข้างแม่นยำกับตำแหน่งจันทร์จริง ค่ำของปฏิทินจีนจะเริ่มตั้งแต่ 1 – 30 โดยในบางเดือนอาจมี 29 วัน ไม่มีขึ้นแรม ผู้ที่ต้องการข้อมูลสามารถอ้างอิงตามปฏิทินจีนหรือปฏิทิน 3 ภาษาได้เลย
เวลาเช้าสายเที่ยงบ่ายเย็น
กลางวัน06:01 น.
08:24 น.
08:25 น.
10:48 น.
10:42 น.
13:12 น.
13:13 น.
15:36 น.
15:37 น.
18:00 น.
กลางคืน03:37 น.
06:00 น.
01:13 น.
03:36 น.
22:49 น.
01:12 น.
20:25 น.
22:48 น.
18:01 น.
20:24 น.
0000X000
00000X00
0000000X
0000000X
X0000000

วิธีดู ยามอุบากอง 2566 ดูอย่างไร

สำหรับวิธีการใช้งานยามอุบากองทั้ง 3 แบบ ให้เริ่มต้นดูวันที่จะต้องออกเดินทางว่า ต้องการออกเดินทางหรือเริ่มต้นกิจสำคัญวันไหน โดยจะต้องอิงวันตามเวลาโบราณพม่า-ไทย หรือหลักโหราศาสตร์ซึ่งจะ เริ่มวันใหม่เมื่ออาทิตย์ขี้นหรือเวลา 6.00 น. แตกต่างจากสากลซึ่งเปลี่ยนวันตอนเที่ยงคืน ถ้าช่วงเวลากลางวันก็สามารถอ้างอิงตามวันปกตินั้นๆ ได้ แต่ถ้าช่วงหลังเที่ยงคืนถึงหกโมงเช้าหรืออ้างอิงตามวิถีค่ำก็จะต้องย้อนไป 1 วันตั้งต้น

จากนั้นเมื่อได้วันแล้ว ให้ดูช่วงเวลาที่ต้องการว่า ต้องการออกเดินทางช่วงไหน โดยเปรียบเทียบตามตารางว่า เวลาใดที่จะตรงกับฤกษ์ดี ฤกษ์มงคล ตามสัญลักษณ์จุดสีดำ 2 จุด หรือ 4 จุด หรือถ้าไม่สะดวกจริงๆ ก็ควรเลี่ยงจุดสีดำ 1 จุดหรือกากบาทนั่นเอง

ตัวอย่างเช่น วางแผนเดินทางไปเจรจาธุรกิจวันอาทิตย์ ให้ตรวจดูในช่องวันอาทิตย์ว่า มีช่วงเวลาใดที่ฤกษ์ดีบ้าง โดยเลือกดูจุดสีดำ 2 จุดและ 4 จุด ซึ่งเป็นฤกษ์ดีมากที่สุด หรือถ้าไม่สะดวกจริงๆ ก็อาจจะใช้ฤกษ์จากช่องว่างเปล่าที่หมายความว่า พอออกเดินทางได้ ไม่ดีหรือแย่เกินไป หมายความว่า ถ้าอ้างอิงตามการเดินยามอุบากองแบบอ้างอิงตามวันและเวลา ในวันอาทิตย์จะมีช่วงเวลาฤกษ์ดีที่สุดจากสัญลักษณ์จุดดำ 4 จุดและ 2 จุดดังนี้

เวลาเช้าสายเที่ยงบ่ายเย็น
กลางวัน06:01 น.
08:24 น.
08:25 น.
10:48 น.
10:42 น.
13:12 น.
13:13 น.
15:36 น.
15:37 น.
18:00 น.
กลางคืน18:01 น.
20:24 น.
20:25 น.
22:48 น.
22:49 น.
01:12 น.
01:13 น.
03:36 น.
03:37 น.
06:00 น.
วันอาทิตย์0000X000
วันจันทร์00000X00
วันอังคาร0000000X
วันพุธ0000000X
วันพฤหัสบดีX0000000
วันศุกร์0000X000
วันเสาร์00000X00

ช่วงกลางวันให้เริ่มเริ่มเดินทางช่วงต่อไปนี้

  • จุดสีดำ 4 จุด ยามเช้า เวลา 06.01 น. ถึง 08.24 น. 
  • จุดสีดำ 2 จุด ยามบ่าย เวลา 13.13 น. ถึงเวลา 15.36 น.

ช่วงกลางคืนให้เริ่มออกเดินทางช่วงต่อไปนี้

  • จุดสีดำ 4 จุด เวลา 18.01 น. ถึงเวลา 20.24 น. 
  • จุดสีดำ 2 จุด เวลา 01.13 น. ถึงเวลา 03.36 น.

จะเห็นได้ว่า การดูฤกษ์งามยามดีโดยอ้างอิงจาก ยามอุบากอง สามารถทำได้ในชีวิตประจำวันโดยเฉพาะยามอุบากองแบบอ้างอิงตามวันและเวลา ที่สามารถเทียบวันและเวลาตามตารางได้อย่างง่ายๆ อย่างไรก็ตาม การดูฤกษ์ยามหรือโหราศาสตร์ใดๆ เป็นเพียงความเชื่อส่วนบุคคลที่ช่วยเสริมสร้างความมั่นใจในการเดินทางหรือเริ่มต้นสิ่งต่างๆ แต่ไม่ได้เป็นสิ่งยืนยันว่า จะไม่มีอุบัติเหตุระหว่างการเดินทาง ดังนั้น จึงควรตรวจเช็กสภาพรถก่อนเดินทางไกลทุกครั้ง และหมั่นบำรุงรักษารถยนต์ที่ใช้อยู่เป็นประจำ

นอกจากนั้น ถ้ากำลังจะซื้อรถโดยเฉพาะรถยนต์มือสองก็ควรเลือกซื้อจากแหล่งจำหน่ายที่สร้างความมั่นใจในการใช้รถได้ อย่างเช่นรถมือสองของแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซซื้อ-ขายรถยนต์มือสองครบวงจรอย่าง CARSOME ที่ผ่าน การตรวจเช็กอย่างละเอียดถึง 175 จุด และ ได้รับการปรับสภาพให้ได้มาตรฐาน พร้อมการ รับประกันนานสูงสุด 2 ปีเต็ม และ การันตีคืนเงินภายใน 30 วัน นอกจากนั้น รถทุกคันมาพร้อม ราคาโปร่งใส คุ้มค่า ไม่มีค่าใช้จ่ายแอบแฝง อีกด้วย

หากคุณกำลังสนใจจะ ซื้อรถมือสอง หรือ ขายรถคันเดิม แล้วล่ะก็… ที่ CARSOME เสนอราคาให้คุณคุ้มค่าที่สุด! เรามีการดำเนินการที่มีมาตรฐาน โปร่งใส รวดเร็ว ให้คุณซื้อหรือขายรถได้อย่างสบายใจ คลิกเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมได้เลย!

CTA CARSOME ซื้อขายรถยนต์มือสอง

อ่านบทความต่อ: Checklist: 8 จุด ตรวจเช็กสภาพรถ ก่อนเดินทางไกล หรือ อบรมต่อใบขับขี่ออนไลน์ 2566 ระบบ DLT e-Learning ครบทุกขั้นตอน