ต่อ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ออนไลน์ ทำเองง่ายๆ ไม่กี่นาที

ต่อ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ออนไลน์ พ.ร.บ. รถมอเตอร์ไซค์ ซื้อ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ ซื้อ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ออนไลน์ ต่อ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ 7 11 ต่อ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์

อ่านวิธี ต่อ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ออนไลน์ หรือที่บางคนเรียกว่า พ.ร.บ. รถมอเตอร์ไซค์ ซึ่ง พ.ร.บ. ดังกล่าวก็เป็นสิ่งที่ผู้ใช้รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ หรือยานยนต์ต่างๆ ทุกประเภทจำเป็นต้องซื้อหรือต่อทุกปี เพราะ พ.ร.บ. ตัวนี้มีอายุความคุ้มครองเพียง 1 ปีเท่านั้น แต่ว่าในตอนนี้ เราไม่จำเป็นต้องเดินทางและเสียเวลาครึ่งวัน เพื่อออกไป ซื้อ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ กันอีกต่อไปแล้ว เพราะตอนนี้มีวิธี ต่อ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ ได้หลากหลายวิธีทั้งการ ซื้อ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ออนไลน์ ในเว็บไซต์ของบริษัทประกันภัยต่างๆ รวมไปถึงการ ต่อ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ 7 11 และสถานที่ต่างๆ แต่ ต่อ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ มีความสำคัญอย่างไร และซื้อได้ที่ไหนบ้าง ไปดูกันเลย

ซื้อรถมือสอง กับ CARSOME การันตีคุณภาพรถยนต์ ผ่านการตรวจเช็กอย่างละเอียดถึง 175 จุดพร้อมปรับสภาพให้ได้มาตรฐาน รับประกันสูงสุด 2 ปีเต็ม ราคาโปร่งใส คุ้มค่า ซื้อไปแล้วไม่พอใจ การันตีคืนเงินเต็มจำนวนภายใน 30 วัน

นึกถึง รถมือสอง ต้อง CARSOME

ซื้อรถยนต์มือสอง

ต่อ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ออนไลน์

วิธี ต่อ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ออนไลน์

1. ต่อ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ออนไลน์ ตอนต่อภาษีรถยนต์

ต่อ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ออนไลน์ ต่อ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ออนไลน์ พ.ร.บ. รถมอเตอร์ไซค์ ซื้อ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ ซื้อ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ออนไลน์ ต่อ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ 7 11 ต่อ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ https://eservice.dlt.go.th/esvapp/login.jsf

สิ่งหนึ่งที่หลายคนสับสนคือ การ ต่อ พ.ร.บ. จักรยานยนต์ออนไลน์ นั่นแตกต่างจากการต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ ซึ่งสามารถทำได้ผ่านสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเครื่องมือที่จะใช้จะต้องเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตเพื่อเตรียมเข้าเว็บไซต์ระบบ e-service ซึ่งเป็นระบบของกรมการขนส่งทางบกโดยตรงและใช้เวลาเพียง 15 นาที อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ใช้บริการสามารถ ซื้อ พ.ร.บ. ออนไลน์รถจักรยานยนต์ ได้ระหว่างต่อภาษีออนไลน์ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

  1. เข้าสู่เว็บไซต์ https://eservice.dlt.go.th/esvapp/login.jsf
  2. หากเคยลงทะเบียนแล้วให้เข้าสู่ระบบโดยกรอกรหัสประจำตัวประชาชนและรหัสผ่าน
  3. หากยังไม่เคยลงทะเบียน ให้คลิก “ลงทะเบียนสมาชิกใหม่” จากนั้นก็กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทั้งที่อยู่ปัจจุบันและที่อยู่ส่งเอกสารด้วย จากนั้นก็ใช้รหัสประจำตัวประชาชนเข้าสู่ระบบ
  4. เมื่อเข้าสู่ระบบแล้วให้ดูที่หัวข้อ “บริการ” จากนั้นก็คลิก “ชำระภาษีรถประจำปี” > “ชำระภาษีรถประจำปีผ่านอินเตอร์เน็ต”
  5. เมื่อเว็บไซต์เข้าสู่หน้า “ค้นหาข้อมูลการลงทะเบียนรถ” จะมีข้อมูล 3 ช่องให้ระบุ ได้แก่ ประเภทรถ, จังหวัด และเลขทะเบียนรถ เมื่อกรอกครบถ้วนแล้วให้ “กดบันทึก” จากนั้นจะมีรายการข้อมูลลงทะเบียนรถปรากฏด้านล่าง ให้คลิกช่องสี่เหลี่ยมด้านหน้ารายการแล้วกด “ชำระภาษี”
  6. อย่างไรก็ตาม สำหรับรถจักรยานยนต์หรือรถยนต์ที่ไม่เคยลงทะเบียนมาก่อนให้คลิกที่ “ลงทะเบียนรถ” จากนั้นก็ลงทะเบียนให้เรียบร้อยแล้วกดชำระภาษี
  7. เมื่อเว็บไซต์เข้าสู่หน้าข้อมูลการยื่นชำระภาษี จะมีข้อมูล 3 ช่องปรากฎ ได้แก่ รายละเอียดรถ, ข้อมูล พ.ร.บ. และ รายการที่ต้องชำระ
  8. สำหรับใครที่ต้องการ ต่อ พ.ร.บ. จักรยานยนต์ออนไลน์ ให้ดูที่หัวข้อ “ข้อมูล พ.ร.บ.” คลิกที่ช่อง “ไม่มี (ซื้อผ่านระบบ)” หลังจากนั้นจะมีหน้าต่างเด้งขึ้นมา ให้คลิกเลือก “ต้องการซื้อ พ.ร.บ. ใหม่” เพื่อ ซื้อ พ.ร.บ. จักรยานยนต์ออนไลน์
  9. หลังจากนั้นก็กรอกข้อมูลข้างล่างช่อง “ซื้อ พ.ร.บ. เพิ่ม” จากนั้น กรอกข้อมูลบริษัทประกันภัยที่ต้องการ ซื้อ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ออนไลน์ และรายละเอียดสถานที่จัดส่งเอกสารให้ครบถ้วน
  10. คลิกเลือก “วิธีชำระเงิน” สามารถเลือกวิธีชำระเงินต่างๆ ที่มีให้เลือกตามสะดวก เมื่อชำระเงินเรียบร้อยจะมีใบเสร็จขึ้นเป็นหลักฐาน จากนั้น ก็รอรับ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ ที่จะส่งมาพร้อมป้ายภาษีรถยนต์ตามที่อยู่ที่กรอกไว้ได้เลย

2. ต่อ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์บริษัทประกันภัย

ต่อ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ออนไลน์ พ.ร.บ. รถมอเตอร์ไซค์ ซื้อ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ ซื้อ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ออนไลน์ ต่อ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ 7 11 ต่อ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ ตัวอย่าง พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์

ในปัจจุบัน หลายๆ บริษัทประกันรถยนต์ก็รับ ต่อ พ.ร.บ. จักรยานยนต์ออนไลน์ ผ่านช่องทางออนไลน์ที่บริษัทประกันภัยกำหนด เช่น เจ้าของรถมอเตอร์ไซค์สามารถ ต่อ พ.ร.บ. ออนไลน์รถจักรยานยนต์ ได้ผ่านช่องทางไลน์แอดของบริษัทหรือช่องทางเว็บไซต์ของบริษัท เพียงกรอกรายละเอียดตามเล่มทะเบียนรถพร้อมกับทำการชำระเงินผ่านระบบ e-Payment ที่บริษัทกำหนด และจะได้รับเอกสารกรมธรรม์ทางอีเมล์ที่ลงทะเบียนไว้ ซึ่งเจ้าของมอเตอร์ไซค์จะต้อง ต่อ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ล่วงหน้า ก่อนต่อภาษีรถยนต์ เพื่อรอให้บริษัทออก ใบ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ ให้ทางอีเมล์ ก่อนจะนำ ใบ พ.ร.บ. จักรยานยนต์ ดังกล่าวไปใช้ต่อภาษีประจำปีและเก็บเป็นหลักฐานนั่นเอง

3. ต่อ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ออนไลน์ ที่เว็บเคาน์เตอร์เซอร์วิส

ต่อ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ 7 11

ปัจจุบัน บริการเคาน์เตอร์เซอร์วิสหลายๆ แห่ง เช่น 7-11, Big C หรือแม้แต่ไปรษณีย์ไทยต่างก็ให้บริการสำหรับใครที่จะ ซื้อ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ โดยผู้ที่ต้องการใช้บริการสามารถนำบัตรประชาชนและสำเนาเล่มทะเบียนรถไปที่หน้าสาขาเพื่อ ต่อ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ และชำระเงินได้ในทันที โดยจะได้รับ ใบ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ ทันทีผ่านทางอีเมล์ นอกจากนั้น บริการเคาน์เตอร์เซอร์วิสหลายๆ แห่งก็ยังให้บริการ ต่อ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์ของตนในฐานะตัวแทนประกันภัย รวมไปถึงต่อทะเบียนรถยนต์ไปในตัวด้วย อย่างไรก็ตาม บริการเคาน์เตอร์เซอร์วิสจะรับ ต่อ พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์ เฉพาะรถที่จดทะเบียนในนามบุคคลธรรมดาและรถมอเตอร์ไซค์รับจ้างหรือให้เช่าเท่านั้น นอกจากนั้น รถมอเตอร์ไซค์ที่มาต่อทะเบียนจะต้องมีอายุไม่เกิน 5 ปีอีกด้วย

4. ต่อ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ออนไลน์ ที่เว็บตัวแทนจำหน่าย

นอกจาก บริการเคาน์เตอร์เซอร์วิสต่างๆ ปัจจุบันก็เริ่มมีเว็บไซต์ของตัวแทนจำหน่ายหรือโบรคเกอร์ที่รับ ซื้อ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ออนไลน์ โดยผู้ที่ต้องการใช้บริการเข้าไปในเว็บไซต์ตัวแทนจำหน่ายเหล่านี้เพื่อ ต่อ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ และชำระเงินได้ในทันที โดยจะได้รับ ใบ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ ทันทีผ่านทางอีเมล์ ซึ่งเว็บไซต์ตัวแทนประกันภัยที่รับ ต่อ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ออนไลน์ เหล่านี้ก็จะให้บริการต่อทะเบียนรถยนต์ไปในตัว อีกทั้งยังมีข้อดีที่มีบริษัทประกันภัยให้ผู้บริโภคสามารถเปรียบเทียบและเลือกต่อได้หลายรายอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ตัวแทนจำหน่ายจะรับ ต่อ พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์ เฉพาะรถที่จดทะเบียนในนามบุคคลธรรมดาและรถมอเตอร์ไซค์รับจ้างหรือให้เช่าเท่านั้น นอกจากนั้น รถมอเตอร์ไซค์ที่มาต่อทะเบียนจะต้องมีอายุไม่เกิน 5 ปีเช่นเดียวกัน

นึกถึง รถมือสอง ต้อง CARSOME

ซื้อรถยนต์มือสอง

พ.ร.บ. จักรยานยนต์ คืออะไร?

ประกันภัย พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ หรือ พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์ แท้จริงแล้วมีชื่อว่า “พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. ๒๕๓๕” โดยเป็นประกันภัยภาคบังคับ ซึ่งกฎหมายกำหนดให้รถทุกคันต้องทำประกันภัย เพื่อให้ความคุ้มครองประชาชนทุกคนที่ประสบภัยจากรถ หากได้รับความเสียหายต่อ ชีวิต ร่างกาย หรืออนามัย ซึ่งเป็นความรับผิดของผู้ขับขี่ รถคันที่เอาประกันภัยบุคคลที่ได้รับความเสียหายนั้นจะได้รับความคุ้มครองจากบริษัทผู้รับประกันภัยที่ต้องชดใช้ค่าเสียหายนั้นให้ผู้ถูกกระทำ สำหรับผู้ขับขี่รถคันที่เอาประกันจะได้รับความคุ้มครองเฉพาะ ค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น

ทั้งนี้ พ.ร.บ. จักรยานยนต์และ พ.ร.บ. รถยนต์ต่างก็ให้ความคุ้มครองที่เหมือนกัน คือการจ่ายค่าคุ้มครองพื้นฐานก่อนประกันที่ต้องสมัครด้วยตนเอง โดย พ.ร.บ. นี้จะคุ้มครองผู้บาดเจ็บด้วยอุบัติเหตุ จ่ายตามค่ารักษาพยาบาลจริง ไม่ครอบคลุมถึงค่าเสียหายหรือค่าซ่อมรถอื่นๆ อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างของพ.ร.บ. จักรยานยนต์และ พ.ร.บ. รถยนต์คือค่าใช้จ่ายที่ไม่เท่ากัน สามารถเช็ค ราคา พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ คร่าวๆ ได้จากตารางด้านล่าง (อาจมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย)

พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ออนไลน์ ราคา เท่าไหร่

ประเภทรถจักรยานยนต์

ราคา พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์

เครื่องยนต์ไม่เกิน 75 ซีซี 161.57 บาท
เครื่องยนต์ 75-125 ซีซี 323.14 บาท
เครื่องยนต์ 125-150 ซีซี 430.14 บาท
เครื่องยนต์ 150 ซีซีขึ้นไป645.12 บาท

พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ คุ้มครอง อะไรบ้าง?

ในส่วนของความคุ้มครอง ทั้ง พ.ร.บ. รถยนต์และ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ให้ความคุ้มครอง 2 อย่าง ได้แก่

  • ค่าเสียหายเบื้องต้น (ไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด)
เงินชดเชยกรณีบาดเจ็บสูงสุด 30,000 บาท
เงินชดเชยกรณีเสียชีวิตหรือสูญเสียอวัยวะสูงสุด 35,000 บาท
เงินชดเชยกรณีเกิดหลายกรณีรวมกันสูงสุด 65,000 บาท
  • ค่าสินไหมทดแทน
เงินชดเชยกรณีได้รับความเสียหายต่อร่างกาย (จ่ายตามค่ารักษาจริง)สูงสุด 80,000 บาท
เงินชดเชยกรณีสูญเสียอวัยวะ/ทุพลภาพอย่างสิ้นเชิง200,000 – 500,000 บาท
เงินชดเชยกรณีเสียชีวิตสูงสุด 500,000 บาท
เงินชดเชยรายวันกรณีเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาล (ผู้ป่วยใน)วันละ 200 บาท (ไม่เกิน 20 วัน)

การเคลม พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์

ในการเคลมพ.ร.บ. รถจักรยานยนต์หรือมอเตอร์ไซค์ นั้นจำเป็นต้องใช้เอกสารต่าง ๆ โดยยื่นเรื่องผ่านทางโรงพยาบาลหรือบริษัทกลางประกันภัย ส่วนเอกสารที่ต้องใช้ในการเคลมแบ่งไปตามกรณี ดังนี้

การเบิกค่ารักษาพยาบาลกรณีบาดเจ็บ

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือเอกสารทางราชการที่พิสูจน์ตัวตนได้
  • ใบเสร็จค่ารักษาพยาบาล

การเบิกค่ารักษากรณีผู้ป่วยใน

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือเอกสารทางราชการที่พิสูจน์ตัวตนได้
  • ใบแจ้งหนี้ค่ารักษาพยาบาล หรือหนังสือรับรองการรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในจากโรงพยาบาล

การเบิกค่ารักษากรณีทุพพลภาพหรือสูญเสียอวัยวะ

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือเอกสารทางราชการที่พิสูจน์ตัวตนได้
  • ใบรับรองแพทย์ และหลักฐานรับรองแสดงถึงการทุพพลภาพถาวร เช่น หนังสือรับรองความพิการ
  • สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสืบสวน

การเบิกค่าชดเชยกรณีเสียชีวิต

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือเอกสารทางราชการที่พิสูจน์ตัวตนได้
  • ใบมรณบัตร
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของทายาทและบัตรประจำตัวประชาชนของทายาทโดยธรรมตามกฎหมาย
  • สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสืบสวน

ถ้า พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ หมดอายุ เสียเท่าไหร่

แน่นอนว่า การ ขาด พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ นั้นมีโทษทางกฎหมาย ดังนั้นเมื่อ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ของเราหมดอายุก็ควรรีบไปต่อทันที ซึ่งโทษของการขาดต่อพรบรถจักรยานยนต์ก็มีดังนี้

พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ ขาด 1 เดือน หรือ 30 วัน

สามารถนำไปต่อได้โดยไม่เสียค่าปรับใด ๆ นอกจากจะเสียภาษีรถจักรยานยนต์เพียงเล็กน้อยเท่านั้น

พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ ขาด 1 ปี 

สามารถนำไปต่อได้เลย แต่ว่าจะต้องเสียค่าปรับภาษีจักรยานยนต์เพิ่มขึ้น 1% ต่อเดือน เช่น ค่าต่อภาษีประจำปีมอเตอร์ไซค์ 100 บาท จะต้องจ่ายค่าปรับนับตามเดือนที่ขาดเดือนละ 1 บาท ถ้า พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ ขาด 3 เดือน ก็จ่ายค่าปรับ 3 บาท ถ้า พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ ขาด 6 เดือน ก็จ่ายค่าปรับ 6 บาท เป็นต้น

พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ ขาด 2 ปีขึ้นไป

อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ต้องการ ต่อ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ ขาด 2 ปี ขึ้นไป จะไม่สามารถต่อได้ในทันที เพราะเป็นระยะเวลาที่นานเกินและถูกถอดทะเบียนและถูกระงับการใช้หมายเลขทะเบียนทันที ต้องไปทำ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ ใหม่ โดยจะต้องยื่นเรื่องการขอเลขทะเบียนใหม่เสียก่อน จากนั้น ต้องนำรถไปตรวจสภาพและจัดเตรียมเอกสารขอทะเบียนใหม่ จากนั้นจึงแจ้งเรื่องขอ ซื้อ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ ออนไลน์ ไม่ต่างจากเวลาออกรถใหม่นั่นเอง

ขาดต่อ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ มีข้อเสียอย่างไร

  • เสียค่าปรับ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ ขาด : หากนำรถหรือมอเตอร์ไซค์ไปใช้โดยไม่ได้ต่อพรบมีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท
  • ไม่ได้รับความคุ้มครอง ไม่สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลหรือเงินชดเชยได้เลย
  • หากไม่ต่อ พ.ร.บ. ก็จะ ไม่สามารถต่อภาษีรถยนต์ได้ และถ้าปล่อยไว้เกิน 2 ปีก็จะทำให้ทะเบียนรถถูกระงับในที่สุด
  • เสียค่าปรับชำระภาษีย้อนหลังเดือนละ 1% ในทุกๆ เดือน

เช็ค พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ ออนไลน์ ทำอย่างไร

เจ้าของรถมอเตอร์ไซค์สามารถตรวจ เช็ค พ.ร.บ. รถมอเตอร์ไซค์ออนไลน์ ว่าเหลือระยะเวลาคุ้มครองเท่าไหร่ได้ผ่านช่องทางออนไลน์ของบริษัทผู้รับประกันภัยหรือติดต่อสายตรงของทางบริษัทโดยอ้างอิงจากเลขกรมธรรม์ใน ใบ พ.ร.บ. จักรยานยนต์ หรือ ในกรณีที่กรมธรรม์ประกันภัย พ.ร.บ. สูญหาย ก็สามารถแจ้งหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชนหรือทะเบียนรถกับทางบริษัทแทนได้

แต่หากเป็นกรณีที่จำไม่ได้ว่าได้ทำประกันภัย พ.ร.บ.ไว้กับบริษัทใด หรือกรณีที่ซื้อรถมือสองและต้องการตรวจสอบความคุ้มครองของรถที่จะซื้อว่า มีความคุ้มครองแล้วหรือไม่ ก็สามารถติดต่อสำนักงาน คปภ. เพื่อขอความช่วยเหลือได้ โดยโทรศัพท์สอบถามไปยัง “สายด่วน คปภ.” ที่หมายเลข 1186 เพียงเท่านี้ก็จะสามารถตรวจสอบความคุ้มครองประกันภัย พ.ร.บ. ของรถคันดังกล่าวได้ทันที

และนี่คือไกด์ทั้งหมดเกี่ยวกับการ ต่อ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ออนไลน์ ครอบคลุมไปถึงการต่อพ.ร.บ. รถยนต์ด้วยเช่นกัน จะเห็นได้ว่าคุณสามารถต่อพ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ออนไลน์ ได้อย่างง่าย ๆ และรวดเร็ว ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางอีกต่อไป และพ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ก็มีคุณประโยชน์มากมาย รู้อย่างนี้ก็อย่าลืมต่อพ.ร.บ.ก่อนจะขับขี่เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณเอง

หากคุณกำลังสนใจจะ ซื้อรถมือสอง หรือ ขายรถคันเดิม แล้วล่ะก็… ที่ CARSOME เสนอราคาให้คุณคุ้มค่าที่สุด! เรามีการดำเนินการที่มีมาตรฐาน โปร่งใส รวดเร็ว ให้คุณซื้อหรือขายรถได้อย่างสบายใจ คลิกที่เว็บไซต์เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมได้เลย!

อ่านบทความต่อ: วิธีการต่ออายุภาษีรถยนต์ 2566 มีขั้นตอนอย่างไร ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง? หรือ อบรมต่อใบขับขี่ออนไลน์ 2566 พร้อมวิธีจองคิวต่อใบขับขี่ออนไลน์