การต่อพรบรถยนต์ออนไลน์ ปี 2564 มีขั้นตอนที่ง่ายและสะดวกรวดเร็ว ไม่จำเป็นต้องเสียเวลาทั้งวันเพื่อไปต่อพรบที่ขนส่งอีกต่อไปแล้ว
วันนี้ Carsome ผู้เชี่ยวชาญด้านรถยนต์จะมาแนะนำวิธีต่อพรบรถยนต์ออนไลน์ง่ายๆ ทำเองได้ที่บ้านชิลๆ ไปเลย
สารบัญ
- สิ่งที่ต้องเตรียมเมื่อจะต่อพรบรถยนต์ออนไลน์
- วิธีต่อพรบรถยนต์ออนไลน์
- พ.ร.บ. จักรยานยนต์ต่างกับ พ.ร.บ. รถยนต์อย่างไร?
- พ.ร.บ. รถยนต์คุ้มครองอะไรบ้าง?
- การเคลม พ.ร.บ. รถยนต์
- ถ้าไม่ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์จะเกิดอะไรขึ้น?
สิ่งที่ต้องเตรียมเมื่อจะต่อพรบรถยนต์ออนไลน์
-
- สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ เลือกเครื่องมือที่จะใช้เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตในการต่อใบขับขี่ และต้องเตรียมเข้าเว็บไซต์ https://eservice.dlt.go.th/esvapp/login.jsf เพราะการต่อพรบรถยนต์ออนไลน์จะต้องทำผ่านระบบ e-service ซึ่งเป็นระบบของกรมการขนส่งทางบกโดยตรง
- เตรียมเวลาในการกรอกข้อมูลต่าง ๆ ให้ครบถ้วน ประมาณ 15 นาที
วิธีต่อพรบรถยนต์ออนไลน์
-
- เข้าสู่เว็บไซต์ https://eservice.dlt.go.th/esvapp/login.jsf
- หากเคยลงทะเบียนแล้วให้เข้าสู่ระบบโดยกรอกรหัสประจำตัวประชาชนและรหัสผ่าน
- หากยังไม่เคยลงทะเบียน ให้คลิกลงทะเบียนสมาชิกใหม่จากนั้นก็กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทั้งที่อยู่ปัจจุบันและที่อยู่ส่งเอกสารด้วย จากนั้นก็ใช้รหัสประจำตัวประชาชนเข้าสู่ระบบ
- เมื่อเข้าสู่ระบบแล้วให้ดูที่หัวข้อบริการ จากนั้นก็คลิก ชำระภาษีรถประจำปี> ชำระภาษีรถประจำปีผ่านอินเตอร์เน็ต
- เมื่อเว็บไซต์เข้าสู่หน้าค้นหาข้อมูลการลงทะเบียนรถ จะมีข้อมูล 3 ช่องให้ระบุ ได้แก่ ประเภทรถ จังหวัด และเลขทะเบียนรถ เมื่อกรอกครบถ้วนแล้วให้กดบันทึก จากนั้นจะมีรายการข้อมูลลงทะเบียนรถปรากฏด้านล่าง ให้คลิกช่องสี่เหลี่ยมด้านหน้ารายการแล้วกดชำระภาษี
- อย่างไรก็ตาม สำหรับรถจักรยานยนต์หรือรถยนต์ที่ไม่เคยลงทะเบียนมาก่อนให้คลิกที่ลงทะเบียนรถ จากนั้นก็ลงทะเบียนให้เรียบร้อยแล้วกดชำระภาษี
-
- เมื่อเว็บไซต์เข้าสู่หน้าข้อมูลการยื่นชำระภาษี จะมีข้อมูล 3 ช่องปรากฎ ได้แก่ รายละเอียดรถ ข้อมูล พ.ร.บ. และรายการที่ต้องชำระ สำหรับการต่อพรบรถจักรยานยนต์ออนไลน์ ให้ดูที่หัวข้อ ข้อข้อมูล พ.ร.บ. คลิกที่ช่องไม่มี (ซื้อผ่านระบบ) หลังจากนั้นจะมีหน้าต่างเด้งขึ้นมา ให้คลิกเลือก ต้องการซื้อ พ.ร.บ. ใหม่
-
- หลังจากนั้นก็กรอกข้อมูลข้างล่างช่องซื้อ พ.ร.บ. เพิ่ม ให้กรอกข้อมูลบริษัทประกันภัยและรายละเอียดสถานที่จัดส่งเอกสารให้ครบถ้วน
- คลิกเลือกวิธีชำระเงิน สามารถเลือกวิธีชำระเงินต่าง ๆ ที่มีให้เลือกตามสะดวก เมื่อชำระเงินเรียบร้อยจะมีใบเสร็จขึ้นเป็นหลักฐาน จากนั้นก็รอรับ พ.ร.บ. รถยนต์ตามที่อยู่ที่กรอกไว้ได้เลย
พ.ร.บ. จักรยานยนต์ต่างกับ พ.ร.บ. รถยนต์อย่างไร?
ทั้ง พ.ร.บ. จักรยานยนต์และ พ.ร.บ. รถยนต์ต่างก็ให้ความคุ้มครองที่เหมือนกัน คือการจ่ายค่าคุ้มครองพื้นฐานก่อนประกันที่ต้องสมัครด้วยตนเอง โดย พ.ร.บ. นี้จะคุ้มครองผู้บาดเจ็บด้วยอุบัติเหตุ จ่ายตามค่ารักษาพยาบาลจริง ไม่ครอบคลุมถึงค่าเสียหายหรือค่าซ่อมรถอื่น ๆ
อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างของพ.ร.บ. จักรยานยนต์และ พ.ร.บ. รถยนต์คือค่าใช้จ่ายที่ไม่เท่ากัน สามารถเช็คราคาคร่าว ๆ ได้จากตารางด้านล่าง (อาจมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย)
ค่าใช้จ่ายในการต่อพรบรถยนต์
ประเภทรถยนต์ | ราคา |
รถส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง | 600 บาท |
รถส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง แต่ไม่เกิน 15 ที่นั่ง | 1,100 บาท |
รถส่วนบุคคลเกิน 15 ที่นั่ง แต่ไม่เกิน 20 ที่นั่ง | 2,050 บาท |
รถส่วนบุคคลเกิน 20 ที่นั่ง แต่ไม่เกิน 40 ที่นั่ง | 3,200 บาท |
รถส่วนบุคคลเกิน 40 ที่นั่ง | 3,740 บาท |
ค่าใช้จ่ายในการต่อพรบรถจักรยานยนต์
ประเภทรถจักรยานยนต์ | ราคา |
เครื่องยนต์ไม่เกิน 75 ซีซี | 161.57 บาท |
เครื่องยนต์ 75-125 ซีซี | 323.14 บาท |
เครื่องยนต์ 125-150 ซีซี | 430.14 บาท |
เครื่องยนต์ 150 ซีซีขึ้นไป | 645.12 บาท |
พ.ร.บ. รถยนต์คุ้มครองอะไรบ้าง?
ในส่วนของความคุ้มครอง ทั้ง พ.ร.บ. รถยนต์และ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ให้ความคุ้มครอง 2 อย่าง ได้แก่
- ค่าเสียหายเบื้องต้น (ไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด)
เงินชดเชยกรณีบาดเจ็บ | สูงสุด 30,000 บาท |
เงินชดเชยกรณีเสียชีวิตหรือสูญเสียอวัยวะ | สูงสุด 35,000 บาท |
เงินชดเชยกรณีเกิดหลายกรณีรวมกัน | สูงสุด 65,000 บาท |
- ค่าสินไหมทดแทน
เงินชดเชยกรณีได้รับความเสียหายต่อร่างกาย (จ่ายตามค่ารักษาจริง) | สูงสุด 80,000 บาท |
เงินชดเชยกรณีสูญเสียอวัยวะ/ทุพลภาพอย่างสิ้นเชิง | 200,000 – 500,000 บาท |
เงินชดเชยกรณีเสียชีวิต | สูงสุด 500,000 บาท |
เงินชดเชยรายวันกรณีเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาล (ผู้ป่วยใน) | วันละ 200 บาท (ไม่เกิน 20 วัน) |
การเคลม พ.ร.บ. รถยนต์
ในการเคลมพรบจักรยานยนต์หรือมอเตอร์ไซค์นั้นจำเป็นต้องใช้เอกสารต่าง ๆ โดยยื่นเรื่องผ่านทางโรงพยาบาลหรือบริษัทกลางประกันภัย ส่วนเอกสารที่ต้องใช้ในการเคลมแบ่งไปตามกรณี ดังนี้
-
- การเบิกค่ารักษาพยาบาลกรณีบาดเจ็บ
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือเอกสารทางราชการที่พิสูจน์ตัวตนได้
- ใบเสร็จค่ารักษาพยาบาล
- การเบิกค่ารักษาพยาบาลกรณีบาดเจ็บ
-
- การเบิกค่ารักษากรณีผู้ป่วยใน
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือเอกสารทางราชการที่พิสูจน์ตัวตนได้
- ใบแจ้งหนี้ค่ารักษาพยาบาล หรือหนังสือรับรองการรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในจากโรงพยาบาล
- การเบิกค่ารักษากรณีผู้ป่วยใน
-
- การเบิกค่ารักษากรณีทุพพลภาพหรือสูญเสียอวัยวะ
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือเอกสารทางราชการที่พิสูจน์ตัวตนได้
- ใบรับรองแพทย์ และหลักฐานรับรองแสดงถึงการทุพพลภาพถาวร เช่น หนังสือรับรองความพิการ
- สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสืบสวน
- การเบิกค่ารักษากรณีทุพพลภาพหรือสูญเสียอวัยวะ
-
- การเบิกค่าชดเชยกรณีเสียชีวิต
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือเอกสารทางราชการที่พิสูจน์ตัวตนได้
- ใบมรณบัตร
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของทายาทและบัตรประจำตัวประชาชนของทายาทโดยธรรมตามกฎหมาย
- สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสืบสวน
- การเบิกค่าชดเชยกรณีเสียชีวิต
ถ้าไม่ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์จะเกิดอะไรขึ้น?
แน่นอนว่าการขาด พ.ร.บ. นั้นมีโทษทางกฎหมาย ดังนั้นเมื่อ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ของเราหมดอายุก็ควรรีบไปต่อทันที ซึ่งโทษของการขาดต่อพรบรถจักรยานยนต์ก็มีดังนี้
-
- เสียค่าปรับ: หากนำรถหรือมอเตอร์ไซค์ไปใช้โดยไม่ได้ต่อพรบมีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท
- ไม่ได้รับความคุ้มครอง ไม่สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลหรือเงินชดเชยได้เลย
- หากไม่ต่อพรบก็จะไม่สามารถต่อภาษีรถยนต์ได้ และทะเบียนรถอาจถูกระงับในที่สุด
- เสียค่าปรับชำระภาษีย้อนหลังเดือนละ 1%
และนี่ก็คือไกด์ทั้งหมดเกี่ยวกับการต่อพรบรถยนต์ จะเห็นได้ว่าคุณสามารถต่อพรบรถยนต์ออนไลน์ได้อย่างง่าย ๆ และรวดเร็ว ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางอีกต่อไป และพรบรถยนต์ก็มีคุณประโยชน์มากมาย รู้อย่างนี้ก็อย่าลืมต่อพรบก่อนจะขับขี่เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณเองล่ะ!
อ่านบทความต่อ: อยากต่อภาษีรถออนไลน์ ต้องทำไง ? หรือ วิธีต่อใบขับขี่ออนไลน์ง่ายๆ ทำเองได้ ไม่กี่ขั้นตอน
หากคุณกำลังสนใจจะ ซื้อรถ หรือ ขายรถ แล้วล่ะก็… ที่ Carsome เสนอราคาให้คุณได้ดีที่สุด! เรามีขั้นตอนการชำระเงินที่รวดเร็ว และไม่มีขั้นตอนยุ่งยากใด ๆ คลิกที่เว็บไซต์เพื่อศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้เลย!