ไขข้อข้องใจ! น้ำมันเบนซิน แก๊สโซฮอล์ 91 95 E20 ต่างกันยังไง?

น้ำมันเชื้อเพลิง แตกต่างกันยังไง

น้ำมันเชื้อเพลิง เป็นสิ่งที่เจ้าของรถทุกคนในประเทศไทยใช้กันเป็นประจำทุกวัน แต่คุณทราบหรือเปล่าว่าน้ำมันเชืแต่ละชนิดแตกต่างกันอย่างไร บทความนี้เราจะทำให้คุณเข้าใจได้ง่ายขึ้นถึงความแตกต่าง และน้ำมันแบบใดที่เหมาะที่สุดสำหรับรถของคุณ

ซื้อรถยนต์มือสอง กับ CARSOME การันตีคุณภาพรถยนต์ ผ่านการตรวจเช็กอย่างละเอียดถึง 175 จุดพร้อมปรับสภาพให้ได้มาตรฐาน รับประกันสูงสุด 2 ปีเต็ม ราคาโปร่งใส คุ้มค่า ซื้อไปแล้วไม่พอใจ การันตีคืนเงินเต็มจำนวนภายใน 30 วัน

นึกถึง รถยนต์มือสอง ต้อง CARSOME

 

สารบัญ

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิง

ในประเทศไทยมีน้ำมันหลายประเภท ประกอบด้วยน้ำมันดีเซล และ น้ำมันเบนซินหลายเกรด โดยแต่ละประเภทจะมีสีของปั๊มเชื้อเพลิงที่แตกต่างกัน

แก๊สโซฮอล์ 91 (Gasohol 91) ปั๊มเชื้อเพลิงสีเขียว
แก๊สโซฮอล์ 95 (อี 10) (Gasohol 95: E10) ปั๊มเชื้อเพลิงสีส้ม
แก๊สโซฮอล์ 95 (Gasoline 95) ปั๊มเชื้อเพลิงสีเหลือง
น้ำมันดีเซล (Diesel) ปั๊มเชื้อเพลิงสีฟ้า 
แก๊สโซฮอล์ 95 (อี 20) (Gasohol 95: E20)  
แก๊สโซฮอล์ 95 (อี 85) (Gasohol 95: E85)  

ความแตกต่างของน้ำมันแต่ละประเภท

ความแตกต่างของน้ำมันแต่ละประเภท

น้ำมันแต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน ทั้งในเรื่องค่าออกเทนและเปอร์เซ็นต์ของเอทานอล

น้ำมันเชื้อเพลิง แต่ละชนิดแตกต่างกันอย่างไร?

· น้ำมันเบนซิน 95 (Gasoline 95)

คือ น้ำมันเบนซินพิเศษไร้สารตะกั่ว ที่มีค่าออกเทน 95 (RON95) / เบนซินบริสุทธิ์ที่มีเอทานอล 0%

· แก๊สโซฮอล์ 91 (อี 10) (Gasohol 91: E10)

คือ น้ำมันเบนซินธรรมดาไร้สารตะกั่ว ที่มีค่าออกเทน 91 (RON91) ผสมกับเอทานอล 10%

· แก๊สโซฮอล์ 95 (อี 10) (Gasohol 95: E10)

คือ น้ำมันเบนซินพิเศษไร้สารตะกั่ว ที่มีค่าออกเทน 95 (RON95) ผสมกับเอทานอล 10%

· แก๊สโซฮอล์ 95 (อี 20) (Gasohol 95: E20)

คือ น้ำมันเบนซินพิเศษไร้สารตะกั่ว ที่มีค่าออกเทน 95 (RON95) ผสมกับเอทานอล 20%

· แก๊สโซฮอล์ 95 (อี 85) (Gasohol 95: E85)

คือ น้ำมันเบนซินพิเศษไร้สารตะกั่ว ที่มีค่าออกเทน 95 (RON95) ผสมกับเอทานอล 85%

น้ำมันเบนซิน กับแก๊สโซฮอล์ต่างกันอย่างไร?

น้ำมันเบนซินนั้นไม่มีส่วนผสมของเอทานอล ในขณะที่แก๊สโซฮอล์คือส่วนผสมของน้ำมันเบนซิน และเอทานอล โดยในประเทศไทย แก๊สโซฮอล์ไม่เพียงหมายถึงการผสมเอทานอลในระดับต่ำ (E 10, E 20) แต่ยังรวมถึงเปอร์เซ็นต์ที่สูงขึ้นด้วย (เช่น E 85 ซึ่งเป็นส่วนผสมของเอทานอล 85% และน้ำมันเบนซิน 15% ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า เบนซินให้ประสิทธิภาพที่ดีกว่า และการหล่อลื่นที่ดียิ่งขึ้น แต่ปัจจุบันน้ำมันเบนซินหาได้ยาก ในขณะที่แก๊สโซฮอล์เป็นที่แพร่หลาย

ค่าออกเทน (RON) คืออะไร?

ในประเทศไทย คุณสามารถพบน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้ในรถยนต์ได้ 2 ประเภทคือ ค่าออกเทน 91 (RON 91) และ ค่าออกเทน 95 (RON 95) คนทั่วไปมักคิดว่า ค่าออกเทน หรือ RON เกี่ยวข้องกับคุณภาพของน้ำมันซึ่งส่งผลให้ราคาแตกต่างกันระหว่างน้ำมันทั้งสอง แต่ค่าออกเทน (RON) เป็นเพียงตัวย่อของ Research Octane Number (RON) ซึ่งหมายถึงกิ่งสาขาของไฮโดรคาร์บอนเท่านั้น

ค่าออกเทน 91 (RON 91) และค่าออกเทน 95 (RON 95) ต่างกันอย่างไร?

ตัวเลขแสดงถึงจำนวนกิ่งสาขาของไฮโดรคาร์บอน ยิ่งจำนวนกิ่งสาขาสูงขึ้นระดับการบีบอัดที่จำเป็นในการระเบิดเชื้อเพลิงก็จะยิ่งสูงขึ้น เมื่ออัตราส่วนกำลังอัดสูง แรงม้าต่อน้ำหนักเครื่องยนต์ก็สูงขึ้นเช่นกัน ซึ่งจะทำให้คุณได้เครื่องยนต์ที่มีประสิทธิภาพสูงนั่นเอง

นึกถึงรถยนต์มือสองต้อง CARSOME
ซื้อรถยนต์มือสอง

รถของคุณเหมาะกับน้ำมันชนิดใด?

การใช้น้ำมันที่เหมาะกับรถยนต์จะช่วยเรื่องประสิทธิภาพของเครื่องยนต์และการยืดอายุรถ

รถทุกคันผลิตด้วยอัตราส่วนกำลังอัดเครื่องยนต์ (Compression Ratio) ขั้นต่ำ และวิธีที่ดีที่สุดที่จะรู้ได้ว่าเชื้อเพลิงประเภทใดที่เหมาะกับรถของคุณมากที่สุดคือการตรวจสอบกับศูนย์บริการ โดยทั่วไปเชื้อเพลิงที่มีค่าออกเทนสูงกว่าจะใช้ในเครื่องยนต์ที่มีกำลังอัดสูง และมีสมรรถนะสูง การเติมรถด้วยค่าออกเทน (RON) ที่ต่ำกว่าที่ผู้ผลิตรถยนต์ระบุไว้อาจทำให้เกิดการชิงจุด (Pre-ignition) ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่อาจทำลายเครื่องยนต์ของรถในระยะยาวหรืออาจส่งผลให้เกิดการระเบิด

ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศไทย

ราคาน้ำมันแต่ละประเภทมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

โดยทั่วไปแล้วรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซินส่วนใหญ่ควรจะสามารถใช้น้ำมันเบนซิน E95, แก๊สโซฮอล์ 91 (E10) และ แก๊สโซฮอล์ 95 (E10) ได้ ซึ่งน้ำมันเหล่านี้มีราคาค่อนข้างแพงกว่าเมื่อเทียบกับแก๊สโซฮอล์ 95 (E20) และ แก๊สโซฮอล์ 95 (E85) แม้ว่า E20 และ E85 จะมีราคาถูกกว่า แต่การมีเปอร์เซ็นต์ของเอทานอลในน้ำมันเชื้อเพลิงมากขึ้นจะส่งผลให้สูญเสียพลังงาน และประสิทธิภาพในการใช้เชื้อเพลิง รวมถึงความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับระบบเชื้อเพลิงด้วยเช่นกัน

คุณสามารถติดตามราคาน้ำมันล่าสุดในประเทศไทยได้ ที่นี่

การติดแก๊ส LPG ในรถยนต์

การติดแก๊ส LPG ในรถยนต์

นอกจากการใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิงแล้ว อีกทางเลือกหนึ่งที่ได้รับความนิยมมากขึ้นก็คือ การติดแก๊ส LPG ในรถยนต์ซึ่งในภาวะที่น้ำมันราคาแพงขึ้น ทำให้เจ้าของรถยนต์จำนวนไม่น้อยหันมาติดแก๊ส LPG ในรถยนต์กันมากขึ้น เพราะว่าเป็นการช่วยประหยัดค่าเชื้อเพลิงที่ใช้ในการเดินทางอีกด้วย

แก๊ส LPG คืออะไร?

แก๊ส LPG คืออะไร ?

ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (Liquefied Petroleum Gas) หรือเรียกสั้น ๆ ว่าแก๊ส LPG คงเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย แก๊ส LPG ที่จริงแล้วคือ เชื้อเพลิงที่ได้จากกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบในโรงกลั่นน้ำมัน โดยตามกระบวนการธรรมชาติแล้วแก๊สที่ได้จะไม่มีสีไม่มีกลิ่นและไม่มีพิษ อีกทั้งยังมีกระบวนการเผาไหม้ที่สมบูรณ์ในเครื่องยนต์ ทำให้ไม่เขม่า ได้พลังงานที่สะอาดและไม่ก่อให้เกิดมลพิษ ซึ่งยังมีค่าออกเทนสูงกว่าน้ำมันทั่วไปอยู่ถึง 100-115 

ข้อดีของการติดแก๊ส LPG ในรถยนต์

ข้อดีของการติดแก๊ส LPG ในรถยนต์ 

หากถามถึงข้อดีของการติดแก๊ส LPG หลาย ๆ คนอาจจะตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า การติดแก๊ส LPG จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการเติมเชื้อเพลิงให้กับรถยนต์ได้ แต่นอกจากเรื่องงบประมาณแล้ว การติดตั้งแก๊ส LPG ในรถยนต์ยังเป็นการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมอีกด้วย 

การเผาไหม้จากรถยนต์ในก๊าซ LPG นั้นจะไม่รบกวนสภาพแวดล้อม แก๊สที่เหลือในห้องเครื่องนั้นจะมีการระเหยออกไปหมดจากการเผาไหม้ ทำให้ไม่มีคราบเกาะอยู่บนกระบอกลูกสูบและลูกสูบ ซึ่งถ้าเป็นการเผาไหม้จากน้ำมันทั่วไป จะมีคราบฟิลม์ที่ละลายออกมาเกาะบนลูกสูบและกระบอกสูบทำให้ประสิทธิภาพของการหล่อลื่นลดลง ส่วนข้อดีอีกข้อก็คือแก๊ส LPG นั้นเป็นแก๊สที่มีแรงดันในตัวเองทำให้เครื่องยนต์สตารท์ติดง่ายมากขึ้น

ข้อเสียของการติดแก๊ส LPG ในรถยนต์

ข้อเสียของการติดแก๊ส LPG ในรถยนต์

พูดถึงข้อดีกันไปแล้วมาดูข้อเสียของการติดตั้งแก๊ส LPG ในรถยนต์กันบ้าง เป็นที่รู้กันดีว่าการติดติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นถังแก๊ส หม้อต้มแก๊ส และอื่น ๆ นั้นจะต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม โดยเฉลี่ยแล้วจะอยู่ประมาณที่  3,500 – 4,500 บาทถือว่าราคากลาง ๆ ไม่สูงมากแต่ก็ถือว่าคุ้มค่าหากเจ้าของรถยนต์จะต้องเติมเชื้อเพลิงบ่อย ๆ 

 

ข้อควรระวังในการใช้แก๊ส LPG นั้นก็คือ เรื่องการติดไฟง่ายกว่าการใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง ดังนั้นเวลาที่เติมแก๊ส LPG ควรหลีกเลี่ยงประกายไฟในบริเวณจุดเติมแก๊ส และก่อนการสตาร์หรือดับเครื่องยนต์ทุกครั้งควรมีการเปลี่ยนเป็นแบบใช้น้ำมันเครื่องปกติก่อนทุกครั้ง เพื่อรักษาประสิทธิภาพของเครื่องยนต์และต้องคอยหมั่นตรวจเช็กสภาพถังแก๊สว่ามีการรั่วซึมหรือไม่ทุก ๆ เดือน

หากคุณกำลังสนใจจะ ซื้อรถมือสอง หรือ ขายรถคันเดิม แล้วล่ะก็… ที่ CARSOME เสนอราคาให้คุณคุ้มค่าที่สุด! เรามีการดำเนินการที่มีมาตรฐาน โปร่งใส รวดเร็ว ให้คุณซื้อหรือขายรถได้อย่างสบายใจ คลิกที่เว็บไซต์เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมได้เลย!

CTA CARSOME ซื้อขายรถยนต์มือสอง

อ่านบทความต่อ: ฤกษ์ออกรถปี 2566 วางแผนออกรถอย่างไรให้ชีวิตรุ่ง  หรือ สิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับประกันรถยนต์ พร้อมเปรียบเทียบเบี้ยประกันฉบับสมบูรณ์